ก่องข้าวหลวง
ชื่ออื่นๆ : ก่องข้าวหลวง (ภาคเหนือ), ก่องข้าวต้น (เชียงใหม่), ครอบ (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : ในไทยพบทั่วทุกภาค
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abutilon persicum (Burm.f.) Merr.
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE
ลักษณะของก่องข้าวหลวง
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.5-3 ม. มีขนแข็งกระจายทั่วไปตามลำต้นและส่วนอื่นๆ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 1-15 ซม. ยาว 3-20 ซม. ปลายแหลม โคนเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบเป็นคลื่นหรือเป็นจัก แผ่นใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาวได้ถึง 11 ซม. หูใบเล็กเรียว
ดอก ดอกสีเหลือง ออกตามง่ามใบ กว้าง 3-4 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 5-7 มม. มีขน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ด้านนอกมีขนตามขอบกลีบ มีหลอดเกสรเพศผู้อยู่ตรงใจกลางดอก ประกอบด้วยเกสรเพศผู้จำนวนมากหุ้มเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่มี 5 ช่อง
ผล ผลกลมแป้น มี 5 พู กว้าง 1.3-1.6 ซม. สูง 1-1.5 ซม. มีขน มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ใต้ผล ผลแก่จัดแตกเป็น 5 เสี่ยง แต่ละเสี่ยงมี 4-6 เมล็ด
เมล็ด สีน้ำตาลอมดำ
การขยายพันธุ์ของก่องข้าวหลวง
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ก่องข้าวหลวงต้องการ
ประโยชน์ของก่องข้าวหลวง
เป็นวัชพืช ลำต้นเป็นเส้นใยใช้ทำเชือก
สรรพคุณทางยาของก่องข้าวหลวง
น้ำสกัดจากใบผสมรากเทียนกิ่ง พริกไทย และข้าว กินแก้โรคดีซ่าน
คุณค่าทางโภชนาการของก่องข้าวหลวง
การแปรรูปของก่องข้าวหลวง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9669&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com