ก้นครก กล้วยเต่า
ชื่ออื่นๆ : กล้วยตับเต่า กล้วยเต่า (ราชบุรี), ไข่เต่า ตับเต่า ตับเต่าน้อย (ภาคเหนือ) ก้นครก
ต้นกำเนิด : พบในป่าเต็งรัง ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วน ไม่อุ้มน้ำ
ชื่อสามัญ : ตับเต่าน้อย กล้วยเต่า ละทุดป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polylthia debilis Finet & Gagnep.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะของก้นครก กล้วยเต่า
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 25-60 ซม. กิ่งก้านจะมีขนสีน้ำตาลคลุม
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปไข่ขอบขนานแบบกลับหัว ยาวประมาณ 5-10 ซม.กว้าง 2-4 ซม. ยาวประมาณ 5-8 ซม.
ดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว ออกตามซอกใบ
ผล ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก สีเหลือง มีขนละเอียดสีเหลืองอ่อน ผลรับประทานได้ เมล็ดมีสีดำ เปลือกรากสีดำบาง
การขยายพันธุ์ของก้นครก กล้วยเต่า
ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ขึ้นได้ทั่วไปตามป่าละเมาะ ป่าโปร่ง
ธาตุอาหารหลักที่ก้นครก กล้วยเต่าต้องการ
ประโยชน์ของก้นครก กล้วยเต่า
ผลใช้รับประทานได้ ทั้งผลอ่อนและผลสุก
สรรพคุณทางยาของก้นครก กล้วยเต่า
- รากก้นครก ใช้ต้มดื่มเพื่อขับน้ำนม นิยมใช้ร่วมกับแก่นต้นหมากเบน (ตะขบป่า) และรากหนามแท่ง
- ราก รสเย็น แก้ตัวร้อนดับพิษไข้ทั้งปวง ดับพิษตานซาง แก้วัณโรค ต้มดื่มแก้ปวดท้อง
คุณค่าทางโภชนาการของก้นครก กล้วยเต่า
การแปรรูปของก้นครก กล้วยเต่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11723&SystemType=BEDO
www.youtube.com