ขมิ้นอ้อย นำเป็นยารักษาโรค ยังใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร และสีย้อมผ้าได้

ขมิ้นอ้อย

ชื่ออื่นๆ : ว่านเหลือง (กลาง) สากมือ (ละว้า) ขมิ้นขึ้น (เหนือ) ละเมียด (เขมร)

ต้นกำเนิด : ทุกภาคของประเทศไทย

ชื่อสามัญ : Zedoary, Luya-Luyahan

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของขมิ้นอ้อย

ต้น ขมิ้นอ้อย เป็นไม้ล้มลุกสูง 50-70 ซม. ลักษณะคล้ายขมิ้นชัน แต่ต้นสูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยเหง้าใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย มีเนื้อในสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกสีนวล มีกลิ่นหอม

ใบ  ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 8-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. ท้องใบจะมีขนนิ่ม ๆ ในหน้าแล้งใบจะแห้งลงหัว บางครั้งเราก็เรียกว่าขมิ้นหัวขึ้น

ดอก ขมิ้นอ้อยจะออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกยาวพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกจะมีใบประดับ ดอกมีสีขาว ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพู ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นข้างบน และจะบานครั้งละ 2-3 ดอก

ต้นขมิ้นอ้อย
ต้นขมิ้นอ้อย เหง้าใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย
ดอกขมิ้นอ้อย
ดอกขมิ้นอ้อย ดอกมีสีขาว ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพู

การขยายพันธุ์ของขมิ้นอ้อย

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

การปลูกขมิ้นอ้อยที่ดีที่สุด ควรปลูกราว ๆ เดือนพฤษภาคม ย่างเข้าฤดูฝน และไม่ควรให้น้ำขังจะทำให้เหง้าขมิ้นเน่าเสีย ในหน้าหนาวขมิ้นอ้อยจะมีต้นโทรมหัวใหญ่

ธาตุอาหารหลักที่ขมิ้นอ้อยต้องการ

ประโยชน์ของขมิ้นอ้อย

  • เหง้าอ่อน-แก่ นำไปใส่เครื่องเทศ หรืออาหารเช่น แกงเหรียง
  • ขมิ้นอ้อยมาใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เช่น ข้าวเหนียวเหลือง ขนมเบื้องญวน ได้ แถมยังนำมาย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีก
เหง้าขมิ้นอ้อย
เหง้าขมิ้นอ้อย เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดิน เหมือนทรงเจดีย์สูง

สรรพคุณทางยาของขมิ้นอ้อย

  • ใบ ขับปัสสาวะ แก้บวมช้ำ
  • เหง้า รสเฝื่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้พิษโลหิต แก้ลม รักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไธรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก รักษาอาการเลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ เหง้าสดตำผสมกับการบูรเล็กน้อย ดอกน้ำฝนกลางหาว รินเอาน้ำหยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว ตาพิการ หรือหัวใช้สมานแผล ใช้ผสมปรุงยาท้องอืดเฟ้อ
  • ให้ใช้หัวของขมิ้นอ้อยสดประมาณ 2 แว่น นำมาบดผสมกับ น้ำปูนใสแล้วใช้รับประทานได้ รักษาเสี้ยน หนามตำ โดยการนำขมิ้นอ้อนมา 5 แว่น ข้าวเหนียวสุกประมาณ 1 กำมือ ดอกชบา 5 ดอก ใช้ตำพอกสามารถดูดเสี้ยนและหนอง ที่ออกจากแผลได้ รักษาแผล ใช้ขมิ้นอ้อยที่หุงในน้ำมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผลให้หายเร็ว เพราะขมิ้นอ้อยเป็นยาฝาดสมานด้วย รักษาฝี ถ้าเป็นฝีหัวเดือนให้นำใบไผ่เผาไฟให้ไหม้ส่วน หัวขมิ้นอ้อยนั้นนำมาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยาและใช้ได้ทั้งกินและทาหรือพอกด้วย ก็ได้รักษาอาการปวดบวม ฟกช้ำ นำขมิ้นสดๆ มาตำให้ละเอียดแล้วเอาพอกที่บวม บรรเทา อาการปวดข้อฟกช้ำบวม รักษาอาการเป็นหวัด นำหัวขมิ้นอ้อย พริกหาง อบเชยเทศ นำมา ต้มแล้วเติมน้ำผึ้งนำมารับประทานได้ และสามารถนำมาใช้แต่งสีเหลืองของอาหารบางชนิด เช่น ข้าวเหนียวเหลืองขนมเบื้องญวน และยังนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้นอ้อย

การแปรรูปของขมิ้นอ้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11793&SystemType=BEDO
http:// area-based.lpru.ac.th
http:// pharmacy.su.ac.th
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment