ขยุ้มตีนหมา
ชื่ออื่นๆ : ขยุ้มตีนหมา (เชียงใหม่) เถาสายทองลอย (สิงห์บุรี) เพาละบูลู (มลายู-ยะลา)
ต้นกำเนิด : เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก
ชื่อสามัญ : Tiger Foot Morning Glory
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomea pes-trigridis L
ชื่อวงศ์ : Convolvulaceae
ลักษณะของขยุ้มตีนหมา
ไม้เถาล้มลุก มีขนสากตามลำต้น กิ่ง ใบ วงใบประดับ และกลีบเลี้ยง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ ขนาดประมาณ 2-10 x 3-13 ซม. แฉกลึก 5-9 แฉก แฉกรูปรีหรือรูปขอบขนาน เรียวแคบทั้งสองด้าน ปลายแหลมยาว แหลม หรือมน โคนเชื่อมติดกับเป็นแผ่น ก้านใบยาว 2-8 ซม. ช่อดอกเป็นกระจุกแน่นออกตามซอกใบ มีวงใบประดับ ก้านช่อยาว 4-11 ซม. ใบประดับวงนอกรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 2-2.5 ซม. วงใบขนาดเล็กและเรียวแคบกว่า ก้านดอกสั้นมาก ดอกสีขาว บานตอนกลางคืนจนถึงเช้า กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ยาวเกือบเท่ากัน ยาว1-1.4 ซม. กลีบดอกรูปลำโพง ยาว 3-4 ซม. ปลายแฉกตื้น 5 กลีบ แถบเส้นกลางกลีบมีขนประปราย เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบ ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณู เกลี้ยง อับเรณูไม่บิดเป็นเกลียว เรณูเป็นหนามละเอียด จานฐานดอกคล้ายวงแหวน รังไข่ 2 ช่อง เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ผลแบบแคปซูล รูปไข่ ยาวประมาณ 7 มม. แตกเป็น 4 ซีก มี 1 เมล็ดในแต่ละซีก เมล็ดรูปรี ยาวประมาณ 4 มม. มีขนสั้นนุ่มสีเทา

การขยายพันธุ์ของขยุ้มตีนหมา
ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมาปลูกได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่ขยุ้มตีนหมาต้องการ
ประโยชน์ของขยุ้มตีนหมา
ทั้งต้นบดใช้ทำเป็นยาระงับพิษสุนัขบ้า ใบบดละเอียดพอกปากแผล ฝี หรือสิว
สรรพคุณทางยาของขยุ้มตีนหมา
- ต้น ใช้ทำเป็นยาระงับพิษสุนัขบ้า หรือตำให้ละเอียดผสมกับเนย ใช้ปิดหัวฝีไม่ให้แพร่กระจาย
- ราก ใช้เป็นยารักษาโรคไอเป็นโลหิต
- เมล็ด ใช้รักษาโรคท้องมาน
คุณค่าทางโภชนาการของขยุ้มตีนหมา
การแปรรูปของขยุ้มตีนหมา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2