ขว้าว เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง

ขว้าว

ชื่ออื่นๆ :  ขว้าว, เขว้า, คว่าว (กลาง,เหนือ); กระทุ่มขว้าว (ตาก); กระทุ่มดง, กระทุ่มแดง (กาญจนบุรี) กาว (เลย); ขาว (อุบลราชธานี, อุดรธานี); ตองแดงเหลือง, ตะเพียนทอง (ลำปาง);ตุ้มกว้าว (เหนือ); ตองเหลือง, ตานถวาย, ตุ้มควาย (เชียงใหม่); ตุ้มก้านแดง, เฝ้า (เพชรบูรณ์); ล่องเลาะ (นครราชสีมา); วาว (สุราษฎร์ธานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Haldu

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของขว้าว

ต้น : ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความสูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเด่นชัด ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นรากพอน เปลือกนอกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเขียวอ่อนปนเทาหรือน้ำตาลเทา เปลือกในสีชมพูอ่อนถึงน้ำตาลแก่

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปหัวใจ มีหูใบรูปร่างค่อนข้างกลม 1 คู่ ระหว่างก้านใบบกว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 16-17 เซนติเมตร ฐานใบรูปหัวใจ ปลายแหลมหรือเรียวแหลม หลังใบมีขนสากๆ สีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนสีเทานุ่มๆ เส้นแขนงใบข้างละ 6-9 คู่ ก้านใบยาว 8 เซนติเมตร

ดอก : ช่อดอกแบบซี่ร่มกลมเป็นช่อกลมแบบเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก กระจุกละไม่เกิน 3 ช่อ ช่อดอกเกิดระหว่างง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง แต่ละดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอดกลีบดอกด้านใน รังไข่มี 2 ช่อง ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม

ผล : ผลแห้งแตกแบบแคปซูล ขนาดเล็ก ผิวแข็ง รวมกันอยู่บนก้านช่อผลเป็นก้อนกลม ประกอบด้วยฝา 2 ฝา มีหลายเมล็ด ผลแก่มีสีน้ำตาลดำ เมล็ดมีปีก ผลแก่ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม

ต้นขว้าว
ต้นขว้าว ลำต้นเปลาตรง ใบรูปหัวใจ หลังใบมีขนสาก

การขยายพันธุ์ของขว้าว

ใช้เมล็ด/ขึ้นตามป่าผลัดใบ เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขว้าวต้องการ

ประโยชน์ของขว้าว

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำของเล่นเด็ก  เครื่องตกแต่งบ้าน ลังใส่ของ เครื่องกลึงเครื่องแกะสลัก
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : นำมาทำเครื่องแกละสลัก เช่น รูปนก กวาง นำมาตกแต่งบ้าน เช่นทำเป็นโต๊ะ

ดอกขว้าว
ดอกขว้าว ดอกแบบซี่ร่มกลม ดอกสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของขว้าว

ราก ยาแก้โรคผิวหนัง ยอดอ่อนรับประทานแก้ปวดศีรษะ
ใบสด ตำคั้นเอาน้ำใส่แผลฆ่าตัวหนอนในแผล

คุณค่าทางโภชนาการของขว้าว

การแปรรูปของขว้าว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10301&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment