ขี้กาขาว ไม้เถาล้มลุก ยอดอ่อน ผัดกับกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ ทั้งต้นมีสรรพคุณทางยา

ขี้กาขาว

ชื่ออื่นๆ : ขี้กาขาว, เถาขี้กา

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes cordata Roxb .

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของขี้กาขาว

ต้น ไม้เถาล้มลุก ยาวได้กว่า 20 ม. ส่วนมากมีดอกแยกเพศต่างต้น ลำต้นเกลี้ยง มือจับแยก 2-5 แขนง ใบประดับนอก (probract) รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 0.8-1.5 ซม.

ใบ ใบเดียว เรียงสลับ มี 3-5 แฉก รูปใบกลมๆ ยาว 8-20 ซม. ปลายใบหรือปลายแฉกแหลม โคนใบรูปหัวใจ แฉกลึก แผ่นใบสากด้านบน มีต่อมกระจายหรือหนาแน่นตามง่ามเส้นแขนงใบใกล้โคน เส้นแขนงใบรูปฝ่ามือ ก้านใบยาว 2.5-10 ซม.

ดอก ช่อดอกเพศผู้ยาว 10-30 ซม. ก้านช่อยาว 7-14 ซม. มี 5-20 ดอกในแต่ละช่อ ใบประดับรูปไข่กลับ ยาว 1.5-2.5 ซม. มีต่อมกระจายใกล้เส้นกลางกลีบ ก้านดอกยาว 0.2-1 ซม. ฐานรองดอกเป็นหลอด ยาว 3-5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยว ยาว 1-1.5 ซม ขอบแฉกเป็นพูตื้นๆ ใกล้โคน กลีบดอกสีขาวยาวประมาณ 2 ซม. ปลายมีแฉกแบบเส้นด้าย ยาว 1-1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดใต้ปากหลอดกลีบดอก ก้านเกสรสั้นๆ อับเรณูชิดกัน ยาว 6-8 มม. จานฐานดอกเป็นพูรูปแถบ 3 แถบ ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้ ออกเดี่ยวๆ ก้านดอกยาว 0.5-2 ซม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมขนาด เล็กและเรียวแคบกว่าในดอกเพศผู้ ยาวได้ประมาณ 1 ซม. ฐานรองดอกยาว 2.5-6 ซม. รังไข่รูปรี ยาวประมาณ 8 มม. เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรแยกเป็น 3-5 แฉก

ผล ผลแบผลมีเนื้อหลายเมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 ซม. สุกสีแดง ผนังผลหนา ก้านผลยาว 1-3 ซม. เมล็ดจำนวนมาก แบน รูปรีหรือรูปขอบขนาน สีน้ำตาล ยาว 0.8-1 ซม.

ขี้กาขาว
ขี้กาขาว โคนใบรูปหัวใจ แฉกลึก แผ่นใบสากด้านบน
ดอกขี้กาขาว
ดอกขี้กาขาว ดอกสีขาว ปลายมีแฉกแบบเส้นด้าย

การขยายพันธุ์ของขี้กาขาว

ใช้เมล็ด/โดยการเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขี้กาขาวต้องการ

ประโยชน์ของขี้กาขาว

ยอดอ่อน ผัดกับกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ

สรรพคุณทางยาของขี้กาขาว

  • เถา ใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้
  • ใบสด ใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง
  • ดอก รสขม บำรุงกำลัง
  • ผล รสขม ถ่ายพิษตานซาง ขับพยาธิ ถ่ายเสมหะ แก้ตับปอดพิการ
ผลขี้กาขาว
ผลขี้กาขาว ผลกลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของขี้กาขาว

การแปรรูปของขี้กาขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10991&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment