ขี้กาดง ไม้เถาลำต้นเป็นร่อง จะมีมือเกาะเป็นเส้นกลมสีเขียวคล้ายลวดสปริง

ขี้กาดง

ชื่ออื่นๆ : กะดอม (ภาคกลาง) ขี้กาน้อย (สระบุรี) ขี้กาลาย (นครราชสีมา) ขี้กาเหลี่ยม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ผักแคบป่า (น่าน) มะนอยจา (ภาคเหนือ) 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระดอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum chinense (Lour.) Merr.

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ลักษณะของขี้กาดง

ต้น  ขี้กาดงเป็นไม้เถาลำต้นเป็นร่อง จะมีมือเกาะเป็นเส้นกลมสีเขียวคล้ายลวดสปริง ยาว 14-25 เซนติเมตร ออกตรงข้ามกับใบ

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปร่างต่าง ๆ กัน เป็นรูปไต สามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือฉแก ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันเลื่อย ใบกว้าง 5 -10 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร เส้นใบแยก จากโคนใบที่จุดเดียวกัน ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ มีขนแข็งปกคลุม สากมือ ทั้งด้านบนและด้านล่าง

ผล  ผลสีแดงอมส้ม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ผิวสาก มีสัน 10 สัน เนื้อสีเขียว เมล็ดรูปรี มีจำนวนมากขอบขนาน ผิวสาก มีสัน 10 สัน เนื้อสีเขียว เมล็ดรูปรี มีจำนวนมาก

ขี้กาดง
ขี้กาดง ไม้เถาลำต้นเป็นร่อง มีมือเกาะ ผลสีแดงอมส้ม ผิวสาก

การขยายพันธุ์ของขี้กาดง

ใช้เมล็ด/ใช้การเพาะเมล็ดหรือปักชำก็ได้

ธาตุอาหารหลักที่ขี้กาดงต้องการ

ประโยชน์ของขี้กาดง

ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก เป็น ผักแกงป่า เป็นผักแกงป่า และแกงคั่วโดยผ่าเอาเม็ดออก

สรรพคุณทางยาของขี้กาดง

  • ผลรสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่ง เพ้อ คุ้มดี คุ้มร้าย ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก รักษามดลูกหลังอาการแท้ง หรือคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ใช้ผลแห้ง 12-16 ผล น้ำหนักประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 กรองน้ำดื่มเช้าเย็น จนกว่าจะหาย ผลแก่เป็นพิษ
  • เมล็ด แก้ผิดสำแดง กินแก้ผลไม้เป็นพิษ รักษาโรคในการแท้งลูก ใช้ขับ น้ำลายช่วยย่อยอาหาร
  • ราก รสขม แก้ไข บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษ โลหิตรากแห้งบดผสมน้ำร้อนใช้ทางถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย
  • ใบ น้ำคั้นใบ ใช้หยอดตา แก้อักเสบ แก้พิษของบาดทะยัก
  • เถา บำรุงน้ำดี แก้ไข้ เจริญอาหารถอนพิษผิดสำแดง ดีฝ่อ ดีเดือด ดับพิษโลหิตทั้งห้า บำรุงธาตุ แก้ไขจับสั่นรักษมดลูกหลังจากการคลอดบุตร บำรุงน้ำนม

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว เมื่อฉีดหรือป้อนสารสกัดผลแห้งด้วยแอลกอฮอล์-น้ำ (1:1) ในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ไม่เป็นพิษ

คุณค่าทางโภชนาการของขี้กาดง

การแปรรูปของขี้กาดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9807&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment