ขี้พร้า (ภาคใต้) หรือ ฟักเขียว เนื้อผลจะมีน้ำมาก นิยมนำมาทำแกง

ขี้พร้า (ภาคใต้)  ฟักเขียว

ชื่ออื่นๆ : มะฟักหอม (แม่ฮ่องสอน) ฟักขี้หมู, ฟักจิง, มะฟักขม, มะฟักหม่น, มะฟักหม่นขม (ภาคเหนือ) บักฟัก (ภาคอีสาน) ฟัก, ฟักขาว, ฟักเขียว, ฟักเหลือง, ฟักจีน, แฟง, ฟักแฟง, ฟักหอม, ฟักขม (ภาคกลาง) ขี้พร้า (ภาคใต้) ตังกวย (จีน) ดีหมือ ลุ่เค้ส่า (ชาวกะเหรี่ยง) หลู่ซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) หลู่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) หลึกเส่ (กะเกรี่ยงแดง) สบแมง (เมี่ยน) ฟักหม่น, ผักข้าว (คนเมืองล้านนา)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Wax Gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Benincasa hispida (Thunb.) Cogn

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของขี้พร้า (ภาคใต้), ฟักเขียว

ต้น  ฟักเขียวเป็นไม้เถาเลื้อยตระกูลแตง ฟักเขียวเป็นพืชอายุสั้น มีลำต้นสีเขียวมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น แตกกิ่งก้านสาขามากมาย

ใบ  ใบมีลักษณะเป็นหยักคล้ายฝ่ามือขอบใบแยกออกเป็น 5–7 แฉก ปลายแฉกแหลมใบหยาบเรียงสลับกันตามข้อต้น ใบกว้างประมาณ 5–15 เซนติเมตร มีขนปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร

ดอก  มีดอกเดี่ยว (Solitary Flower) สีเหลือง ดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นหลอดยาว 5–10 เซนติเมตร ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียก้านดอกจะสั้นกว่าดอกเพศผู้ ปลายดอกแยกออกเป็น 3 แฉก มีรังไข่อยู่ภายในดอก

ผล  ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมยาวกว้างประมาณ 20–30 เซนติเมตร ยาว 30–60 เซนติเมตร เปลือกแข็งสีเขียวเนื้อในสีขาว เนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมากสีขาวออกเหลือง

ฟักเขียว
ฟักเขียว เปลือกแข็งสีเขียว มีขนเล็กน้อย เนื้อในสีขาว เนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ

การขยายพันธุ์ของขี้พร้า (ภาคใต้), ฟักเขียว

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขี้พร้า (ภาคใต้) , ฟักเขียวต้องการ

ประโยชน์ของขี้พร้า (ภาคใต้) , ฟักเขียว

  • นำผลฟักเขียวมาประกอบอาหารโดยการใส่ในแกง ต้ม ผัดต่างๆ บ้างทำเป็นขนมหวานในเทศกาล แต่เมนูยอดนิยมคงจะเป็นแกงเขียวหวานไก่ฟักเขียว แกงจืดฟักต้มกับไก่ แกงเลียง ฟักเขียวผัดกับหมูใส่ไข่ ฟักเชื่อม รวมถึงยอดอ่อนที่นำมาลวก หรือต้มกะทิ กินกับน้ำพริกได้ มีรสชาติอร่อยไม่แพ้ผักอื่นเหมือนกัน
  • ทั่วโลกใช้ผลฟักเขียวกินได้ทั้งดิบและสุก ใช้เป็น ผัก ดอง ปรุงแกงเผ็ด หรือกวนแยม กินได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่
    ผลอ่อนจะรสเข้มกว่าผลแก่ เนื้อผลจะมีน้ำมาก สามารถเก็บรักษาผลได้นานเป็นเดือนหรือค่อนปี เพราะมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ภายนอก
  • ใบอ่อนและตาดอกกินโดยการนึ่งใช้เป็นผัก หรือใส่ในแกงจืดเพิ่มรสชาติ
  • เมล็ดทำให้สุกแล้วกินได้ อุดมไปด้วยน้ำมันและโปรตีน

สรรพคุณทางยาของขี้พร้า (ภาคใต้) , ฟักเขียว

  • ใบ แก้ฟกช้ำ แก้พิษผึ้งต่อย ช่วยรักษาบาดแผล แก้โรคบิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้บวมอักเสบมีหนอง
  • ผล ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิตเป็นพิษ บวมน้ำ หลอดลมอักเสบ
  • เมล็ด ใช้ลดไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไตอักเสบ บำรุงผิว ละลายเสมหะ
  • ราก ต้มดื่มแก้ไข้ แก้กระหายน้ำ ถอนพิษ
  • เถาสด รสขมเย็น ใช้รักษาริดสีดวงทวาร มีไข้สูง
  • เปลือก เป็นยาแก้บวม ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย แผลบวมอักเสบ มีหนอง
  • ในตำรายาจีนบอกว่า เปลือกชั้นนอกของฟักเขียว ที่ตากแดดให้แห้งแล้วนำมารวมกับ เยื่อหุ้มถั่วแระ เต็งซัมฮวย (ดอกต้นกก) น้ำตาลกรวด นำมาล้างรอให้สะเด็ดน้ำจนแห้งใส่ในหม้อดิน เติมน้ำพอประมาณ ต้มด้วยไฟแรงประมาณ 1 ชั่วโมง กรองเอาน้ำแช่ตู้เย็นเก็บไว้จะเป็นยา ขับปัสสาวะ แก้บวม บำบัดอาการบวมน้ำ ขัดเบา แก้ร้อนใน คอแห้ง
  • ทุกส่วนของฟักเขียวนอกจากจะเป็นยารักษาโรคแล้ว ส่วนที่นำมาเป็นอาหารยังให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีเยี่ยม ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน และวิตามินซี ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของขี้พร้า (ภาคใต้) , ฟักเขียว

การแปรรูปของขี้พร้า (ภาคใต้) , ฟักเขียว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11092&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment