ขี้อ้น
ชื่ออื่นๆ : กอมก้อลอดขอน (สุรินทร์), ขอบจักรวาล, ครอบจักรวาล, แสงอาทิตย์ (จันทบุรี), คืนหน (ประจวบคีรีขันธ์), หัสคุณดอกแดง (สตูล), อ้นแดง หงอนไก่ หัวไก่โอก (อุบลราชธานี) แก้มอ้น
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ขี้อ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะของขี้อ้น
ไม้พุ่ม ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ชูยอดตั้งขึ้น สูง 30-60 เมตร เปลือกต้นเหนียว สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ลำต้นสีน้ำตาลแดงมีขนรูปดาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปโล่ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อย มีขนรูปดาวที่ผิวใบทั้งสองด้าน มีต่อม 1 ต่อม ที่โคนเส้นกลางใบ เส้นใบและก้านใบมีสีแดง ก้านใบยาว 1-3 เซนติเมตร
ดอก ดอกช่อกระจุกออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพูหรือสีชมพูอมแดง ขนาด 4 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมกับฐานหลอดเกสรตัวผู้ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขน ริ้วประดับรูประฆัง ปลายแยกเป็นเส้นห้าแฉก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เชื่อมกันเป็นกลุ่มเดียว เกสรเพศเมีย มีก้านชูเกสรแยกเป็น 10 แฉก
ผล เป็นผลแห้งแตกได้ ผิวมีขนเป็นริ้วประดับรูปถ้วยปกคลุม
เมล็ด รูปไต พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงมกราคม
การขยายพันธุ์ของขี้อ้น
เพาะเมล็ด ปักชำกิ่งตอน
ธาตุอาหารหลักที่ขี้อ้นต้องการ
ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน
ประโยชน์ของขี้อ้น
ปลูกประดับตามแนวรั้ว
สรรพคุณทางยาของขี้อ้น
ราก ต้มน้ำให้สตรีระหว่างอยู่ไฟหลังคลอดดื่ม และบำรุงโลหิต
คุณค่าทางโภชนาการของขี้อ้น
การแปรรูปของขี้อ้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11784&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com