ขี้เหล็กเลือด
ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กเลือด, ขื้เหล็กคันชั่ง, ขี้เหล็กป่า, ขี้เหล็กตาชี,ขีเหล็กแดง,ขี้เหล็กยายชี,บี้ตะขะ,ขี้เหล็ก, ปัน, ช่าง, ช้ายี้, เหล็ก, ขี้เหล็กแมลงสาบ(เชียงใหม่),มะเกลือเลือด(ราชบุรี)
ต้นกำเนิด : พบทั่วทุกภาคตามป่าโปร่ง ชายป่า และเชิงเขาหินปูน
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna timoriensis (DC.)
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของขี้เหล็กเลือด
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางมีลักษณะคล้ายขี้เหล็กบ้าน สูงได้ประมาณ 10 ม. กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนสีเหลืองทอง
ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หูใบรูปติ่งหู มีขนสั้นนุ่ม ปลายใบแหลมสั้นๆ หรือเป็นติ่ง โคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้านของแผ่นใบ ส่วนท้องใบเป็นสีแดง
ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ มีใบประดับรูปไข่ ปลายแหลม ร่วงง่าย กลีบดอกสีเหลือง แผ่นกลีบรูปไข่กลับ
ฝัก รูปแถบ แบน เกลี้ยง แห้งแล้วแตก ยาว 8-16 ซม. เมล็ดมี 10-30 เมล็ด รูปรี แบน เป็นมันวาว ยาวประมาณ 7 มม.
การขยายพันธุ์ของขี้เหล็กเลือด
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ขี้เหล็กเลือดต้องการ
ประโยชน์ของขี้เหล็กเลือด
- ใบอ่อนและดอกตูม รับประทานเป็นอาหารได้
- เนื้อไม้หรือกิ่ง ใช้ในการก่อสร้าง
- ลำต้น ใช้ทำฟืน
สรรพคุณทางยาของขี้เหล็กเลือด
- แก่น ใช้เป็นยารักษาอาการปวดเอว แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นปัตคาดบริเวณท้องน้อยและหน้าขาตึง
คุณค่าทางโภชนาการของขี้เหล็กเลือด
การแปรรูปของขี้เหล็กเลือด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9535&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com