ข้าวสารป่า กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

ข้าวสารป่า

ชื่ออื่นๆ : เข็มแพะ (เชียงใหม่), กระดูกงูเหลือม เข็มขาว (สุรินทร์) และ เข็มป่า

ต้นกำเนิด : พบในป่าเต็งรัง ทั่วทุกภาค

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pavetta tomentosa roxp

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของข้าวสารป่า

ข้าวสารป่าเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก เรือนยอดแผ่กว้างระเกะระกะหรือเป็นพุ่มกลมโปร่ง ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร ตามกิ่งเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม ส่วนกิ่งอ่อนกลวงและมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป เปลือกต้นด้านนอกเป็นสีน้ำตาลเข้มปนดำ มีปุ่มปมตามลำต้น เป็นสะเก็ดแตกอ้าเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก

ใบ  เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวหม่น

ดอก  ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนง ดูคล้ายช่อเชิงหลั่น ออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมเป็นสีขาว ช่อดอกมีลักษณะกลมแบบหลวมๆ มีขนาดประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดอกย่อยนั้นมีจำนวนมาก ก้านดอกย่อยยาวได้ประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีขน กลีบดอกเป็นสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร หลอดแคบ

ผล  คล้ายผลผนังชั้นในแข็ง กลม มีพู 2 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 มิลลิเมตร สีเขียวเป็นมัน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีชั้นกลีบเลี้ยงกลมๆ ด้านบน เนื้อผลบาง ภายในจะมีเมล็ด 2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล ด้านหนึ่งโค้ง อีกด้านหนึ่งแบน

ต้นข้าวสารป่า
ต้นข้าวสารป่า ลำต้นตั้งสูง ตามกิ่งเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม

การขยายพันธุ์ของข้าวสารป่า

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวสารป่าต้องการ

ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี แสงแดดค่อนข้างจัด

ประโยชน์ของข้าวสารป่า

ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกมีลักษณะสวยงาม มีกลิ่นหอมอ่อน

สรรพคุณทางยาของข้าวสารป่า

  • รากหรือลำต้น  ผสมสมุนไพรอื่นหลายชนิดต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง รากต้มน้ำดื่มช่วยเพิ่มน้ำนม
  • ราก  มีรสเฝื่อน แก้เสมหะในท้องและในทรวงอก ต้มน้ำกินแก้บิด ใช้กับหญิงคลอดบุตรช้ากว่ากำหนด
  • ใบ รสเมาเบื่อ รักษาโรคในจมูก ฆ่าพยาธิ ใช้น้ำต้ม แก้อาการไข้
  • ใบและราก ใช้พอกฝี รักษาริดสีดวงทวาร แก้หิด
  • เปลือกต้น  มีรสเมาเบื่อ ตำคั้นเอาน้ำหยอดหูฆ่าแมลงคาในหู
  • ผล รสเมาเบื่อ แก้ริดสีดวงงอกในจมูก
  • ดอก มีรสฝาดเย็น แก้ตาแดงตาแฉะ
ดอกข้าวสารป่า
ดอกข้าวสารป่า กลีบดอกมีจำนวนมาก มีขน กลีบดอกเป็นสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวสารป่า

การแปรรูปของข้าวสารป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10846&SystemType=BEDO
https://thaiherbal.org

One Comment

Add a Comment