ข้าวเหนียวดำ นิยมนำมาทำขนมหวาน อาทิ ข้าวเหนียวดำน้ำกะทิ ข้าวหลาม

ข้าวเหนียวดำ

ชื่ออื่นๆ : ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำ

ต้นกำเนิด : แถบประเทศเอเชีย

ชื่อสามัญ : Black glutinous rice

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa var. glutinosa

ชื่อวงศ์ : –

ลักษณะของข้าวเหนียวดำ

ลักษณะข้าวเหนียวดำ คือข้าวเหนียวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ด (pericarp) สีม่วงแดงจนถึงสีดำ รวมทั้งการมีรงควัตถุ (pigment) ที่ปรากฏสีในส่วนต่างๆ ของต้นข้าว ซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวชนิดนี้ รงควัตถุที่มีสีส่วนใหญ่พบในส่วนของลำต้น ใบ และเกือบทุกส่วนของช่อดอก (floral part) ยกเว้นในส่วนของ embryo หรือ endosperm ที่ไม่พบการกระจายตัวของรงควัตถุ โดยทั่วไปข้าวเหนียวดำที่เกษตรกรปลูกเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่มีการปลูกเฉพาะพื้นที่มาเป็นเวลานานแล้ว และเกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับปลูกในฤดูปลูกต่อไปเอง พันธุ์ข้าวเหนียวดำที่เกษตรกรใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียวดำยังไม่ดีพอ เช่น หลังจากหุงต้มแล้วข้าวแข็งและร่วนจนเกินไป และกลิ่นไม่หอม เป็นต้น ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของข้าวเหนียวดำ โดยเฉพาะคุณภาพการหุงต้มจึงมีความจำเป็น การรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวดำและนำมาปลูกเพื่อประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองจึงมีความสำคัญ
มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี”(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน พันธุ์ข้าวเหนียวดำมีลักษณะเป็นข้าวพันธุ์ไวแสง และเป็นข้าวเหนียว ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ทนแล้งและฟื้นตัวจากแล้งได้ดี ต้านทานต่อเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากข้าวทั่วไปคือการปรากฏของสีม่วงบนส่วนต่าง ๆ ของต้น อาทิ กาบใบ แผ่นใบ กลีบดอก เปลือกเมล็ด และเยื่อหุ้มเมล็ด ปริมาณของสีจะเข้มข้นแตกต่างกันไป เป็นลักษณะเฉพาะประจำพันธุ์ซึ่งตามภูมิปัญญาท้องถิ่นข้าวเหนียวดำไร่ จะมีลักษณะสีม่วงเฉพาะส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดเท่านั้น

เมล็ดข้าวก่ำ
เมล็ดข้าวมีสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำ

การขยายพันธุ์ของข้าวเหนียวดำ

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวเหนียวดำต้องการ

ประโยชน์ของข้าวเหนียวดำ

คุณค่าของข้าวเหนียวดำตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเชื่อว่าเป็นสมุนไพร รักษาการตกเลือดของหญิงคลอดลูก โดยนำเอาต้นข้าวเหนียวดำมาต้มกับใบเมี่ยง (ใบชา) รับประทาน การปลูกข้าวเหนียวดำในอดีตจึงมิได้ปลูกเพียงเพื่อบริโภคเพียงอย่างเดียว หากแต่ปลูกเพื่อใช้เป็นพืชสมุนไพรด้วย และรับประทานได้ทั้งเป็นของหวานและของคาว และ เป็นข้าวต้มทำจากข้าวสีดำ ดังนั้นการปลูกข้าวเหนียวดำในอดีตจึงมิได้ปลูกเพื่อบริโภค แต่จะปลูกเพื่อสมุนไพร ดังนั้นการเก็บเกี่ยวจึงจะเก็บเกี่ยวไว้ทั้งต้นและมัดห้อยไว้จนกว่าจะนำมาใช้เป็นสมุนไพร

สรรพคุณและประโยชน์
เป็นอาหารร่าเริง ทำให้สมองสงบ คลายเครียด กินแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อิ่มท้องนาน เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร ชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย ช่วยขับลมในร่างกาย สร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์ ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อม

ข้าวเหนียวดำนึ่ง
ข้าวเหนียวดำนึ่งรับประทานคล้ายกับข้าวเหนียวขาว

สรรพคุณทางยาของข้าวเหนียวดำ

ข้าวเหนียวดำมีสารประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่สูงกว่าข้าวขาวกล่าวคือ มีสารแกมมา-โอไรซานอล ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบในรำข้าวเหนียวดำปริมาณสูงถึง 2.70% เมื่อเทียบกับรำข้าวขาวซึ่งมีประมาณ 1.12% ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเชื่อกันว่าข้าวเหนียวดำเป็นสมุนไพร สารแกมมา-โอไรซานอลในน้ำมันรำข้าวมีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ที่ดีกว่าวิตามินอี วิตามินซีและเบต้าแคโรทีน (สมวงษ์, 2546) นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถลดการดูดซึมคอเรสเตอรอลจากอาหารสู่ร่างกาย ลดการสังเคราะห์คอเรสเตอรอลในตับ ลดปริมาณคอเรสเตอรอลในพลาสมา ลดอาการผิดปกติในสตรีวัยที่กำลังจะหมดประจำเดือน
นอกจากนั้นแล้ว ข้าวเหนียวดำยังมีรงควัตถุที่สำคัญคือ แอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะแอนโทไซยานินชนิดที่พบในข้าวสีม่วงกลุ่มอินดิก้า มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด ดังนั้นการศึกษาปริมาณสารแกมมา-โอไรซานอล และปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าวเหนียวดำสายพันธุ์ต่างๆ รวมถึงการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสารแกมมา-โอไรซานอลและแอนโทไซยานินจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์ต่อไป

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเหนียวดำ

การแปรรูปของข้าวเหนียวดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11299&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

Add a Comment