บอน ใบอ่อนและก้านใบอ่อน นำมาใช้ทำอาหาร

บอน

ชื่ออื่นๆ : ตุน (เชียงใหม่) บอนหอม (ภาคเหนือ) บอนจืด (ภาคอีสาน) บอนเขียว, บอนจีนดำ (ภาคกลาง) บอนท่าบอนน้ำ (ภาคใต้) คึ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ขื่อที้พ้อ, ขือท่อซู่, คึทีโบ, คูชี้บ้อง, คูไทย, ทีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กลาดีไอย์ (มาเลย์-นราธิวาส) กลาดีกุบุเฮง (มาเลย์-ยะลา) เผือก, บอน (ทั่วไป) บอนหวาน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Elephant ear, Cocoyam, Dasheen, Eddoe, Japanese taro, Taro

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.)

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะของบอน

ต้น : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่

ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนแผ่ออกรอบต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปหัวใจหรือรูปโล่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าแหลม ไม่เปียกน้ำเพราะผิวใบเคลือบไปด้วยไข (Wax) ส่วนด้านหลังใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือม่วงหรือเป็นสีขาวนวล มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ในแต่ละกอจะมีประมาณ 7-9 ใบ ก้านใบยาวออกจากต้นใต้ดิน ก้านใบยึดกับด้านล่างของใบ ก้านใบเป็นสีเขียวแกมสีม่วงหรือสีเขียวแกมเหลือง ก้านใบยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร

ดอก : ออกดอกเป็นช่อเป็นแท่งเดี่ยว ๆ ออกจากลำต้นใต้ดิน มีกาบสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองนวลหุ้มอยู่ ดอกเป็นกระเปาะสีเขียวเป็นแท่งอยู่ตรงกลาง มีกลิ่นหอมและต่อมาจะกลายเป็นผลเล็ก ๆ จำนวนมากที่ประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบหัวใหญ่

ผล : ผลเป็นผลสดสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดน้อย

ต้นบอน
ต้นบอน ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยโดยรอบ

การขยายพันธุ์ของบอน

การแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว

ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น

ธาตุอาหารหลักที่บอนต้องการ

เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี

ประโยชน์ของบอน

ไหลและหัวใต้ดินนำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นอาหารได้ ส่วนใบอ่อนและก้านใบอ่อน สามารถนำมาใช้ทำอาหารประเภทต้มได้ เช่น แกงส้ม แกงกะทิ แกงบอน เป็นต้น หรือจะนำมาลอกจิ้มน้ำพริกรับประทาน แต่ต้องทำให้สุกก่อนจึงจะไม่คัน โดยนำมาต้ม 2-3 ครั้ง แล้วคั้นเอาน้ำทิ้งหรือนำไปเผาไฟก่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร (เวลาปอกเปลือกควรสวมถุงมือและสับเป็นท่อน ๆ ก่อนนำไปต้ม) นอกจากนี้ก้านบอนยังนำมาดองได้อีกด้วย

ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ใบบอนมาต้มให้หมูกิน หรือจะใช้ก้านใบนำมาสับผสมเป็นอาหารหมู

วิธีการเลือกบอน ให้เลือกใช้ต้นอ่อนพันธุ์สีเขียวสดและไม่มีสีขาวนวลเคลือบอยู่ตามแผ่นใบและก้านใบ โดยบอนสีเขียวสดจะเรียกว่า “บอนหวาน” (ชนิดคันน้อย) ส่วนชนิดที่มีสีซีดกว่าและมีสีขาวนวลกว่าจะเรียกว่า “บอนคัน” (ชนิดคันมาก) ส่วนที่นำมาใช้ แกงคือ หลี่บอน เป็นยอดอ่อนหรือใบอ่อนของบอนที่อยู่ใกล้กับโคนต้น

น้ำยางและลำต้นหากสัมผัสผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการคันและปวดแสบปวดร้อน แล้วต่อมาจะเกิดอาการอักเสบ บวมและพองเป็นตุ่มใส หากนำมาเคี้ยวหรือรับประทานสดจะทำให้เกิดอาการคันคออย่างรุนแรง เนื่องจากผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ทำให้เกิดน้ำลายมาก ทำให้บวมบริเวณลิ้น ปาก เพดาน และใบหน้า ทำให้พูดจาลำบาก หากมีอาการเป็นพิษรุนแรงจะทำให้พูดไม่ได้ ลิ้นหนัก คันปาก ลำคอบวมและอักเสบอย่างรุนแรง

ดอกบอน
ดอกบอน ออกเป็นช่อแท่ง มีกาบสีเหลืองนวลหุ้มอยู่

สรรพคุณทางยาของบอน

  • ก้านใบ : มีรสเย็นคัน นำมาตัดหัวท้ายออก แล้วนำไปลนไฟบิดเอาน้ำใช้หยอดแผลแก้พิษคางคก
  • ลำต้น : นำมาบดใช้เป็นยาพอกรักษาแผล รวมทั้งแผลจากงูกัด
  • น้ำจากลำต้นใต้ดิน : มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ใช้เป็นยาแก้พิษแมลงป่อง
  • หัว : ใช้เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ มีรสเมาคัน ใช้เป็นยาแก้เถาดานในท้อง กัดฝ้าหนอง มีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรี
  • ราก : นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบแห้ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย

คุณค่าทางโภชนาการของบอน

การแปรรูปของบอน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11808&SystemType=BEDO
www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment