คำไทย ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก ผลมีขนสีแดงสด คล้ายเงาะ

คำไทย

ชื่ออื่นๆ : ชิติหมัก, มะกาหยุม, แสด (ภาคเหนือ) ; หมากมอง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ; คำเงาะ, คำแงะ, คำไทย, คำแฝด, คำแสด (กรุงเทพฯ) ; คำยง, ชาตรี (เขมร) ; จำปู้, ส้มปู้ (เขมร-สุรินทร์), ชาด (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Anatto tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bixa orellana L.

ชื่อวงศ์ : BIXACEAE

ลักษณะของคำไทย

ต้น  ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบลำต้น ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปหัวใจปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบสีแดงออกจากฐาน 5 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 3-7 ซม.

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ส่วนยอด ช่อหนึ่ง ๆ มี 5-10 ดอก สีขาวหรือสีชมพูอ่อน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ สีเขียว มีขนาดเล็กและมีต่อมอยู่ที่ฐานกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน ดอกจะมีอยู่ชั้นเดียว ออกดอกเกือบตลอดปี

ผล ลักษณะรูปไข่หรือกลม มีขนสีแดงสด คล้ายเงาะ ผลแก่แล้วแตก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

เมล็ด จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงหรือสีแสด

ต้นคำไทย
ต้นคำไทย ลำต้นตั้งตรง ใบรูปไข่หรือรูปหัวใจปลายใบเป็นติ่งแหลม

การขยายพันธุ์ของคำไทย

การเพาะเมล็ด การปักชำหรือการตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่คำไทยต้องการ

ประโยชน์ของคำไทย

นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับให้มีความสวยงาม

สรรพคุณทางยาของคำไทย

เปลือกราก รสร้อนขมหอม แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
เปลือกเมล็ด รสร้อนหวาน เป็นยาระบายท้อง ให้สีแดงซึ่งใช้แต่งสีอาหาร เรียก “Annatto”
เมล็ด รสร้อนหอม เป็นยาหอม ยาฝาดสมาน แก้ไข้ แก้หนองใน แก้ไข้มาลาเรีย แก้พิษจากมันสำปะหลังและสบู่แดง
ผล รสฝาดร้อน เป็นยาสมาน
ดอก รสหวานสุขุม บำรุงโลหิตและน้ำเหลือง ให้เป็นปกติ แก้แสบร้อน คัน ตามผิวหนัง ขับระดู แก้โลหิตจาง แก้ดีพิการ แก้บิด แก้ไตพิการ บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ
ใบ รสร้อนหอม แก้ไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ แก้โรคดีซ่าน แก้งูกัด

ผลคำไทย
ผลคำไทย รูปไข่หรือกลม มีขนสีแดงสด

คุณค่าทางโภชนาการของคำไทย

การแปรรูปของคำไทย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11365&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment