งวงช้างทะเล
ชื่ออื่นๆ : งวงช้างทะเล
ต้นกำเนิด : เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
ชื่อสามัญ : Octopus bush, Tree heliotrope, Velvet soldier bush
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliotropium foertherianum Diane & Hilger
ชื่อวงศ์ : Heliotropiaceae
ลักษณะของงวงช้างทะเล
ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. ลำต้นหนา
ใบ มีขนสั้นนุ่มตามแผ่นใบทั้งสองด้าน ช่อดอก และกลีบเลี้ยง ใบเรียงเวียนชิดกันที่ปลายกิ่ง รูปไข่หรือรูปใบหอกกลับ ยาว 8–20 ซม. ปลายเป็นติ่งหรือมน โคนสอบเรียวจรดก้านใบเป็นครีบคล้ายปีก ยาวได้ถึง 2.5 ซม.

ดอก ช่อดอกคล้ายช่อเชิงหลั่นออกที่ปลายกิ่ง ช่อตอนปลายม้วน ดอกไร้ก้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 1.5–2 มม. ดอกสีขาว หลอดกลีบดอกยาว 2.5–3 ซม. มี 5 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่ปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้น รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียไม่ชัดเจน ยอดเกสรแยก 2 แฉก ฐานเป็นวงแหวน
ผล ผลสด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. แตกเป็น 2 ส่วน ปลายทั้ง 2 ด้าน มีเปลือกหุ้มเป็นคอร์ก แต่ละซีกมี 2 ไพรีน กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม.

การขยายพันธุ์ของงวงช้างทะเล
แถบจังหวัดพังงาและกระบี่ ขึ้นตามหาดทรายริมทะเลที่ไม่ถูกรบกวน มีจำนวนประชากรน้อย
ธาตุอาหารหลักที่งวงช้างทะเลต้องการ
ประโยชน์ของงวงช้างทะเล
- เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือ และใช้เผาถ่าน
- ใบมีสาร rosmarinic acid ที่มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัส แบคทีเรียและต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณทางยาของงวงช้างทะเล
คุณค่าทางโภชนาการของงวงช้างทะเล
การแปรรูปของงวงช้างทะเล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10614&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com