ดอกงิ้ว ดอกสีแดง เกสรดอกงิ้วตากแห้ง ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำแกงแค ทำขนมจีนน้ำเงี้ยว

งิ้วแดง

ชื่ออื่นๆ : งิ้วบ้าน (ทั่วไป) งิ้วแดง (กาญจนบุรี) งิ้วปง, งิ้วปกแดง, สะเน้มระกา (ชอง-จันทบุรี) งิ้วป่า, งิ้วปงแดง, งิ้วหนาม, นุ่นนาง, ตอเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) ปั้งพัวะ (ม้ง) บักมี้ (จีน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Cotton tree, Kapok tree, Red cotton tree, Silk cotton, Shving brush

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bombax ceiba L.

ชื่อวงศ์ : BOMBACACEAE

ลักษณะของงิ้วแดง

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบสูง 20 – 30 เมตร ลําต้นและกิ่งมีหนามแหลม ลําต้นตรงและแตกกิ่งก้านในแนวตั้งฉากกับลําต้นเรือนยอดแผ่กว้าง

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือมีใบย่อย5 – 7 ใบ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ โคนใบสอบก้านใบยาว ใบอ่อนสีเขียวใบแก่สีเขียวเข้ม เปลี่ยนเป็นสีเหลืองก่อนหลุดร่วง

ดอก ดอกออกเป็นช่อเดี่ยวหรือเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ไม่มีก้านดอก กลีบรองกลีบดอกรูปถ้วยสีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ สีแดงสีส้ม ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวจำนวนมาก เรียงกระจายเป็นวงรอบ สีขาวปนสีชมพู ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน สีชมพู บริเวณปลายเป็นจุดสีเข้มมีความเหนียว ออกดอกเดือนธันวาคม – มกราคม

ผล ผลรูปรีผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลเทาเมื่อแก่จัดแตกออกเป็นแฉกเมล็ดสีดําหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาวจํานวนมาก ออกผลเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

ต้นงิ้วแดง
ต้นงิ้วแดง ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม
ใบงิ้วแดง
ใบงิ้วแดง ใบสีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของงิ้วแดง

การเพาะเมล็ด, การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่งิ้วแดงต้องการ

ประโยชน์ของงิ้วแดง

  • เกสรดอกงิ้วตากแห้ง ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำแกงแค ทำขนมจีนน้ำเงี้ยว
  • ปุยนุ่นของฝักหรือผลแก่สามารถนำมาใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ด้วยการนำมาใช้ยัดเบาะ ฟูก หมอน
  • ใบและยอดอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
ดอกงิ้วแดง
ดอกงิ้วแดง ดอกเดี่ยว สีส้มแดง ดอกมีเกษรยาว
ดอกงิ้วแห้ง
ดอกงิ้วแห้ง สำหรับใช้เป็นส่วนประกอบการทำแกงแค ทำขนมจีนน้ำเงี้ยว

สรรพคุณทางยาของงิ้วแดง

  • ราก บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้บวม
  • เปลือก แก้ตกโลหิต แก้ท้องเสีย ทำให้อาเจียน
  • หนาม แก้ไข้ ลดความร้อน
  • ใบ แก้อักเสบ ฟกช้ำ แก้ต่อมทอลซิลอักเสบ
  • ดอก ระงับประสาท แก้ปวด ทาแก้น้ำร้อนลวก
  • รากหรือเปลือกรากใช้สมานแผล ห้ามเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก
ผลงิ้วแดง
ผลงิ้วแดง ผลยาวรี ผลดิบสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของงิ้วแดง

การแปรรูปของงิ้วแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10933&SystemType=BEDO
http://www.tistr.or.th
https://www.flickr.com

Add a Comment