จันทน์หอม
ชื่ออื่นๆ : จันทน์, จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์) จันทน์ขาว, จันทน์พม่า, จันทน์หอม (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200 – 400 เมตร
ชื่อสามัญ : Kalamet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansonia gagei J.R.Drumm. ex Prain
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ลักษณะของจันทน์หอม
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 20 เมตร เปลือก ค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-14 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ
ดอก เล็กสีขาวออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลาย กิ่งและตามง่ามใบ ออกดอกราว เดือนสิงหาคม – ตุลาคม
ผล รูปกระสวย กว้าง 0.5 – 0.7 ซม. ยาว 1 – 1.5 ซม. มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม หนึ่ง ปีกกว้าง 1 – 1.5 ซม. ยาว 2.5 – 3 ซม. ผลจะแก่ ธันวาคม – มกราคม

การขยายพันธุ์ของจันทน์หอม
ใช้เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม: สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามดินแถบเขาหินปูน ขึ้นในป่าดิบแล้ง ชอบขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200 – 400 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่จันทน์หอมต้องการ
ประโยชน์ของจันทน์หอม
- เนื้อไม้ กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมัน
- ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม หอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่อง สำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
- ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของจันทน์หอม
- ต้น: ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ธาตุพิการ ขับโลหิตระดู
- เนื้อไม้: แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้วิงเวียน หน้ามืด ตามัว ชูกำลัง ทำใจคอให้สดชื่นสดใส บำรุงประสาท แก้ไข้ แก้เหงื่อตกหนัก แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ บำรุงเนื้อหนังให้สดใส แก้ตับปอดพิการ ขับพยาธิ แก้ไข้อันบังเกิดแกตับและดี บำรุงเลือดลม แก้ไข้เพื่อดี แก้ไข้เพ้อคลั่ง แก้สันนิบาตโลหิต
- แก่น: บำรุงหัวใจ แก้ลมอาเจียน แก้ลมวิงเวียน แก้ลม แก้ไข้กำเดา แก้ดีพิการ แก้ไข้ ชูกำลัง แก้คลื่ยนเหียนอาเจียน แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี แก้โลหิต แก้ดี แก้อ่อนระโหย แก้กระหายน้ำ บำรุงผิว ทำให้หัวใจชื่นบานสดใส แก้ไข้เพื่อดี แก้ตับพิการ แก้อ่อนเพลีย
- ใบ: บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอด ตับ ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหนัก ขับพยาธิ แก้จุกเสียด แก้แน่นเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ธาตุพิการ ขับโลหิตระดู
- ทั้งต้น: ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ธาตุพิการ ขับโลหิตระดู
- น้ำมันหอมระเหย: เป็นยาแก้ลม มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจ
คุณค่าทางโภชนาการของจันทน์หอม
การแปรรูปของจันทน์หอม
เนื้อไม้ กระพี้สีขาว ส่วนแก่น สีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด แข็งเลื่อยไสกบตบแต่งง่ายไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึงและแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ ทางด้านสมุนไพร น้ำมันที่กลั่นจากเนื้อไม้ใช้เข้ายาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้ดี แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9299&SystemType=BEDO
http:// nakhonpathom.go.th
https:// khaolan.redcross.or.th
http:// www.qsbg.org
https:// www.dnp.go.th
One Comment