จันทน์เทศ ผลกลมรี เปลือกสีเหลือง เนื้อมีรสเปรี้ยวฝาด กลิ่นหอม

จันทน์เทศ

ชื่ออื่นๆ : จันทน์บ้าน (ภาคเหนือ) ลูกจันทน์, ดอกจันทน์, หน่วยสาน, จันทน์ปาน (ทั่วไป) ปาลา (มลายู,มาเลเซีย) โหย่งโต้โต่, เหน็กเต่าโขว่(จีน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Mace Nutmeg

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myristica fragrans Houtt.

ชื่อวงศ์ : MYRISTICACEAE

ลักษณะของจันทน์เทศ

ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 4-10 เมตร
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปกลมรี หรือขอบขนาน เนื้อใบแข็ง หลังใบเรียบเป็นมันและเป็นสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนท้องใบเรียบและเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 6-12 มิลลิเมตร

ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจายหรือช่อกระจุกสั้นๆบริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อละ 1-5 ดอก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ดอกมีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้

ผล ผลรูปกลมรี เปลือกสีเหลือง ออกส้ม มีขนปกคลุม เนื้อสีครีมมีรสเปรี้ยวฝาด มีกลิ่นหอม เมื่อแก่ผลแตกตามยาวออกเป็นสองซีก เมล็ดรูปทรงรี สีน้ำตาล เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นริ้วสีแดงเข้มปนชมพู จันทน์เทศให้ผลผลิตได้ตลอดปี หมุนเวียนกันออกดอกติดผลในแต่ละต้น แต่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เป็นช่วงที่ให้ผลแก่มากที่สุด

ต้นจันทน์เทศ
ต้นจันทน์เทศ ไม้ต้น แผ่นใบรูปกลมรี เนื้อใบแข็ง
ผลจันทน์เทศ
ผลจันทน์เทศ ผลรูปกลมรี นื้อสีครีมมีรสเปรี้ยวฝาด

การขยายพันธุ์ของจันทน์เทศ

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่จันทน์เทศต้องการ

ประโยชน์ของจันทน์เทศ

ประเทศไทยนำไปผสมกับขนมปัง เนย แฮม ไส้กรอก เบคอน เนื้อตุ๋นต่าง ๆ แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น น้ำพริกสำเร็จรูป หรือนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เพื่อช่วยในการถนอมอาหาร

สรรพคุณทางยาของจันทน์เทศ

  • มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้บิด
  • ดอกตัวผู้ตากแห้ง เป็นส่วนผสมในเครื่องยาจีน มีฤทธ์ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุอาหารพิการ นำมาชงน้ำร้อนดื่มช่วยย่อยอาหาร
  • น้ำมันลูกจันทร์ นำมาทำเป็นยาดม
  • ดอกจันทร์และลูกจันทน์ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดศรีษะ ร้อนใน ผื่นคัน ลมจุกเสียด เลือดกำเดาออก ท้องร่วง บำรุงปอด หัวใจ ตับ น้ำดี ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม ขับเสมหะ และกระจายเลือดลม

คุณค่าทางโภชนาการของจันทน์เทศ

การแปรรูปของจันทน์เทศ

เนื้อผลแก่นิยมนำไปแปรรูปเป็นของขบเคี้ยว ให้รสหอมสดชื่น เผ็ดธรรมชาติ หวานชุ่มคอ ในปัจจุบันจันทน์เทศใช้ในอุตสาหกรรมที่อเมริกามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตามโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง เครื่องหอม เครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม สุรา ลูกอมลูกกวาด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11894&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment