จำปา
ชื่ออื่นๆ : จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา, จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี)
ต้นกำเนิด : จีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Michelia champaca Linn.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ลักษณะของจำปา
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นตรง ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด เปลือกสีเทาอมขาว มีกลิ่นฉุน
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อใบบาง ใบอ่อนมีขน ใบแก่เกลี้ยง เส้นใบ 16-20 คู่ ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร โคนก้านใบป่อง
ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองอมส้ม ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกตั้งขึ้น ดอกตูมรูปกระสวย มีแผ่นสีเขียวคลุมอยู่ และจะหลุดไปเมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมี ลักษณะเหมือนกัน มีจำนวน 12-15 กลีบ แต่ละกลีบรูปยาวรีแกมรูปหอกกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-4.5 เซนติเมตร กลิ่นหอมแรง ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมยามพลบค่ำ ในเช้าวันต่อมากลีบดอกจะกางออกจากกัน และร่วงหล่นในช่วงเวลาเย็น ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีมากช่วงต้นฤดูฝน ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ผล เป็นกลุ่ม ยาว 6-9 เซนติเมตร ผลย่อยค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ติดผลได้ดี มีหลายเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดง เมล็ดแก่ในช่วงฤดูแล้ง
การขยายพันธุ์ของจำปา
การเพาะเมล็ด, การทาบกิ่ง, การติดตา และการตอนกิ่ง
นิยมเพาะเมล็ดกันมาก เนื่องจากมีเมล็ดจำนวนมาก หาง่าย และเพาะให้งอกได้ง่ายต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดจะมีลำต้นตรง ระบบรากดี เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีทรงพุ่มแน่นทึบสวยงาม ต้นที่ปลูกอยู่บนภูเขาหรือในที่สูงจะติดเมล็ดได้ดีกว่าต้นที่ปลูกบนพื้นราบ จำปาชอบดินร่วนระบายน้ำดีและต้องการรับแสงแดดมากเต็มที่ หากต้องการปลูกให้ออกดอกในกระถางควรใช้วิธีทาบกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่จำปาต้องการ
ประโยชน์ของจำปา
- นิยมปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ ประเภทดอกหอมสวยงาม และเป็นไม้ให้ร่มเงาในสนามได้ดีมากต้นหนึ่ง
- เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง
- ดอก นำมาร้อยมาลัยและใช้ผสมในตำรายาไทยแผนโบราณ
สรรพคุณทางยาของจำปา
- เปลือกต้น ฝาดสมาน แก้ไข เป็นยาถ่าย
- รากแห้งและเปลือกหุ้มราก ผสมกับนมสำหรับบ่มฝี
- ดอก แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ขับลม ขับปัสสาวะใช้แก้วิงเวียน อ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย โรคเรื้อน
- ใบ แก้โรคประสาท แก้ป่วง
- เนื้อไม้ บำรุงประจำเดือนสตรี
คุณค่าทางโภชนาการของจำปา
การแปรรูปของจำปา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12211&SystemType=BEDO
www.kk.ru.ac.th, www.forest.go.th, www.flickr.com
4 Comments