จิก จิกน้ำ ไม้ต้นผลัดใบ ดอกออกเป็นช่อสีแดงห้อยลง

จิกเขา

ชื่ออื่นๆ : จิกน้ำ, กระโดนทุ่ง, กระโดนน้ำ, กระโดนสร้อย, จิ๊ก, ปุยสาย, ตอง, ลำไพ่

ต้นกำเนิด : ประเทศไทยและเพื่อนบ้านใกล้เคียงตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเกาะชวาของอินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ : Indian oak

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula (L.)

ชื่อวงศ์ : BARRINGTONIACEAE

ลักษณะของจิกเขา

ลำต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบ ลำต้น เป็นปุ่มปมและเป็นพู ผลัดใบ ชอบขึ้นริมน้ำ

ใบ เป็นเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ผิวใบมัน ใบออกสลับถี่ตามปลายยอด รูปใบยาวเหมือนรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ใบยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบจักถี่ ก้นใบสีแดง สั้นมาก

ดอก ออกเป็นช่อ สีแดงห้อยลง บานจากโคนลงไปทางปลาย ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ และจะคงติดอยู่จนเป็นผล เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก มีสีชมพูถึงสีแดง

ผล ลักษณะเป็นฝักกลมยาว 30-50 เซนติเมตร ส่วนหัวและท้ายเรียวเล็ก สีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม ใช้รับประทานเป็นอาหารได้

เมล็ด ลักษณะยาวรีเป็นเหลี่ยม มีสันตามยาวของผล 4 สัน ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่

จิก
จิก ไม้ยืนต้นผลัดใบ ผิวใบมัน
ดอกจิก
ดอกจิก ดอกเป็นช่อ สีแดงห้อยลง บานจากโคนลงไปทางปลาย

การขยายพันธุ์ของจิกเขา

ใช้เมล็ด/การขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่จิกเขาต้องการ

ประโยชน์ของจิกเขา

  • อาศัยร่มเงา ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ผลใช้รับประทานกันทั่วๆไป

ดอกจิกทั้งหมดนี้ จะบานหลังพระอาทิตย์ตก พอรุ่งเช้า ก็ร่วง รักดอกจิก หรือ ดอกกระโดน ก็ต้องรอดู ตกค่ำ ต้องนั่งเฝ้ากันใต้ต้น ถ้าตื่นสายนะ อดดูของสวยงาม

สรรพคุณทางยาของจิกเขา

  • ราก รสขม แก้หวัด ขับเสมหะ
  • เปลือก ร้อนเมา สมานแผล แก้ไข้ ปวดท้อง
  • เนื้อไม้ รสขื่น ขับระดูขาว
  • ใบ รสฝาดมัน แก้ท้องร่วง
  • เมล็ด รสร้อน แก้จุกเสียด

คุณค่าทางโภชนาการของจิกเขา

การแปรรูปของจิกเขา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10740&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment