ชงโคย่าน
ชื่ออื่นๆ : ชงโคย่าน, ย่านชงโค (ตรัง) ชิงโคย่าน (ภาคใต้); ดาโอะ (นราธิวาส) ปอลิง (สุราษฎร์ธานี) เล็บควายใหญ่ (ยะลา ปัตตานี) โยทะกา, โยทะกาเลื้อย (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด : แหลมมลายู
ชื่อสามัญ : เถาไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia integrifolia Roxb.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของชงโคย่าน
ต้น เป็นไม้เถาที่มีขนาดใหญ่ เถามีสีน้ำตาล บริเวณเถาอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมโดยทั่วไปและมีมือเกาะยื่นออกมาสำหรับเกาะพันไปตามหลัก หรือต้นไม้อื่น
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ใบออกเรียงสลับกันไปตามเถา ใบเป็นรูปไข่ ใบกว้างและค่อนข้างกลม โคนใบจะมนเว้าเข้าหาก้านใบคล้ายรูปหัวใจ ส่วนปลายใบเว้าเป็น 2 แฉก ๆ ลึกบ้าง ตื้นบ้าง ลักษณะของแฉกจะแหลมหรือบ้างก็อาจจะกลม ใบสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว
ดอก ดอกเมื่อแรกออกจะเป็นสีเหลือง แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีส้มแดงหรือสีแดง ดอกมีขนาดเล็กออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และบริเวณปลายกิ่ง ดอกเมื่อยังตูมอยู่จะมีลักษณะกลม ปลายแหลมมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อันและในจำนวนเกสรตัวผู้ 5 อันนี้ จะมีเกสรตัวผู้ที่ฝ่อหรือไม่สมบูรณ์ 2 อัน เกสรมีขนาดเล็ก
ผล เป็นฝักแบนยาวคล้ายบรรทัด กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้ เมล็ด กลมแบน มี 5-8 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของชงโคย่าน
ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
การดูแล
– แสง เป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการแสงแดดมากพอสมควร
– น้ำ ชอบน้ำปานกลาง ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ แต่ไม่ควรให้น้ำมากจนแฉะ
เพราะจะทำให้รากเน่าได้
– ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และเป็นดินที่สามารถเก็บความชื้นได้ดี
– ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ใส่บริเวณโคนต้นปีละ 2-3 ครั้ง โดยการพรวนดินรอบโคนต้นเสียก่อน แล้วจึง
ใส่ปุ๋ย แล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม
ธาตุอาหารหลักที่ชงโคย่านต้องการ
ประโยชน์ของชงโคย่าน
เป็นไม้ประดับปลูกตามบ้านหรือสวนควบคู่ไปกับไม้ใบแฝดอื่นๆ เช่น กาหลง เพื่อให้เห็นความงามของดอกแต่ละชนิด
สรรพคุณทางยาของชงโคย่าน
คุณค่าทางโภชนาการของชงโคย่าน
การแปรรูปของชงโคย่าน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11609&SystemType=BEDO
https:// www.dnp.go.th