ชาข่อย
ชื่ออื่นๆ : จ๊าข่อย (ภาคเหนือ) ชาข่อย, ชาฤๅษี (ภาคกลาง) กาน้ำ, ชาญวน (กรุงเทพฯ) ผักดุก, ผักดูด (ประจวบคีรีขันธ์) ชาป่า (ปัตตานี)
ต้นกำเนิด : พบครั้งแรกในไทยที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Wild tea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha siamensis Oliv. ex Gage
ชื่อพ้อง : Acalypha evrardii Gagnep., Acalypha siamensis var. denticulata Airy Shaw
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของชาข่อย
ต้นชาข่อย ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 4 ม. แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ไม่มีขน
ใบชาข่อย ใบเดี่ยว เรียงสลับแบบวน ก้านใบยาว 1-3 ม. แผ่นใบรูปหอก หรือค่อนไปทางรูปข้าวหลามตัด ขนาดกว้าง 1.5-3.0 ซม. ยาว 4.0-6.5 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบรูปลิ่ม ทั้งสองข้างอาจไม่สมมาตร ขอบใบหยักมนคล้ายลูกคลื่นกึ่งฟันเลื้อย เส้นใบเห็นได้ลางๆ เส้นใบข้างละ 4-5 คู่ คู่ล่างสุดออกจากโคนใบ
ดอกชาข่อย ออกเป็นช่อยาวจากซอกใบและบริเวณยอด ช่อดอกยาว 2-5 ซม. แกนช่อมีขนละเอียดปกคลุม ดอกย่อยแยกเพศ ขนาดดอกเล็กมาก สีเขียวอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกเล็กๆ เป็นจำนวนมากทางตอนปลายของช่อ ใบประดับรูปใบหอกปลายแหลม กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปไข่ปลายแหลม ขอบกลีบมีขนระเอียดปกคลุม เกสรเพศผู้ 8-12 อัน ก้านเกสรมีขนละเอียดปกคลุม ดอกเพศเมียออกทางโคนช่อ จำนวนน้อย 2-8 ดอก มีใบประดับหุ้ม รังไข่มี 3 ช่อง
ผลชาข่อย ผลเล็กยาว 1-2 มม. เมื่อแก่ แห้งแตกได้
เมล็ดชาข่อย เมล็ดค่อนไปทางกลม เมื่อแก่ผลมีสีดำ
การขยายพันธุ์ของชาข่อย
การเพาะเมล็ด, การปักชำ
พบได้ในป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าดิบเขา พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 800 ม. ขึ้นอยู่ในสภาพดินทรายหรือหินปูน
ธาตุอาหารหลักที่ชาข่อยต้องการ
ประโยชน์ของชาข่อย
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ปลูกเป็นรั้วกั้นต้นไม้ ทำรั้วกันทางเดินในบริเวณบ้าน
สรรพคุณของชาข่อย
- ใบ ชงเป็นชาบำรุงร่างกายให้สดชื่น ยาบำรุงท้อง และย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้น้ำเหลืองเสีย และไตพิการ
- ทั้งต้น ใช้พอกศีรษะเป็นยาลดไข้ หรือต้มน้ำอาบสำหรับคนที่ฟื้นไข้ใหม่
คุณค่าทางโภชนาการของชาข่อย
การแปรรูปชาข่อย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, www.flickr.com
ชาข่อย หรือชาข่อยฤาษี นิยมปลูกเป็นรั้วกั้นต้นไม้