ชายผ้าสีดา(ใต้),
ชื่ออื่นๆ : กระเช้าสีดา ข้าวห่อพญาอินทร์ (น่าน), สไบสีดา (เลย), กระเช้าสีดา (ภาคอีสาน), ชายผ้าสีดา หูช้าง (ชื่อทางการค้าในกรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Disk Staghorn, Crown Staghorn
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Platycerium coronarium (J.G. Koen.ex. Muell) Desv.
ชื่อวงศ์ : POLYPODIACEAE
ลักษณะของชายผ้าสีดา(ใต้),
ทั่วทั้งต้นสีเขียวอมเหลือง ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมด้วย
เกล็ดเป็นแผ่นบางสีน้ำตาล ชายผ้าสีดาจะเจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดทั้งปี หากได้รับแสงและความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ใบกาบ ตอนบนชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้า ใบเป็นแผ่นกว้าง หนา ผิวเป็นเงามัน ขนที่ผิวใบมองเห็นไม่ชัด แผ่นใบสีเขียวอ่อน ตอนล่างห่อหุ้มเหง้า และระบบรากแน่นแผ่โอ้มอ้อม ไปทางด้านหลัง แผ่นใบหนาได้ถึง 1.5 ซ.ม. ส่วนใบด้านบนหยักลึกเป็นแฉกคู่ไม่เป็นระเบียบ ปลายยอดแฉกมนกลม เส้นใบหลักแตกแขนงเป็นคู่ๆ และนูนทั้งสองด้านของ ผิวใบ เส้นใบย่อย จรดโค้งเข้าหากัน ใบกาบชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้าเพื่อดักเศษใบไม้ ลูกไม้และเศษอินทรีย์วัตถุ สำหรับเก็บสะสมไว้ใช้เป็นอาหารเลี้ยงต้น ใบชายผ้าโคนใบออกมาเป็นก้านผอม แล้วแตกเป็นกิ่งสาขาเป็นคู่ๆ ปล่อยทิ้งตัวห้อยย้อยลงมาเป็นริ้วที่อาจยาวได้ถึง 3 ม. มองดูเหมือนสายม่านหรือตาข่าย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่สังเกตุได้ชัด การแตกกิ่งช่วงบนแตกเป็นคู่สาขา มักยาวพอๆ กัน แต่ช่วงปลายอาจยาวไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบเส้นใบแตกกิ่งสาขาเป็นคู่ปูดนูน แต่เส้นใบย่อยสังเกตุเห็นได้ไม่ชัด อับสปอร์ เกิดเป็นพืดในอวัยวะคล้ายถ้วย งอกจากโคนของใบชายผ้า เมื่อสปอร์แก่เต็มที่ จะปล่อยสปอร์ร่วงไปพร้อมๆกันในคราวเดียวทั้งหมด
การขยายพันธุ์ของชายผ้าสีดา(ใต้),
ใช้ส่วนอื่นๆ/โดยการเพาะสปอร์ หรือชนิดที่แตกหน่อต้นใหม่ สามารถปาดแยกหน่อที่โตแล้วไปปลูกแยกได้
สำหรับการขยายพันธุ์โดยการเพาะสปอร์ ในเรื่องของระยะเวลาในการเพาะ ตั้งแต่หว่านจนเกิดต้นอ่อนใหม่ให้เห็น แต่ละชนิด กินระยะเวลานานไม่เท่ากัน
วิธีปลูกเกาะ ควรเลือกปลูกเกาะกับตอไม้ แผ่นไม้ ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่ผุเปื่อยเร็ว หรือปลูกติดภาชนะที่ทนทาน เช่น โอ่งดินเผา แผ่นกระเบื้อง กำแพง เป็นต้น และหากสามารถปลูกติดกับต้นไม้ได้ยิ่งสวยงาม เหมือนสภาพในธรรมชาติ หากเป็นต้นที่ย้ายมาปลูก ถ้ามีระบบรากเดิมมาน้อย อาจเสริมเครื่องปลูกเพิ่มเข้าไปบ้าง โดยรองเครื่องปลูกในปริมาณเีพียงพอสำหรับให้ระบบรากเจริญไปยึดเกาะพยุงต้นได้
ธาตุอาหารหลักที่ชายผ้าสีดา(ใต้),ต้องการ
ประโยชน์ของชายผ้าสีดา(ใต้),
เนื่องจาก ชายผ้าสีดาเป็นเฟิร์นที่มีรูปทรงแปลก สวยงาม ปัจจุบันจึงได้
นำมาเป็นพืชตกแต่งสวน และ มีการเพาะขายในเชิงพาณิชย์
สรรพคุณทางยาของชายผ้าสีดา(ใต้),
เฟินชายผ้าสีดาในกลุ่ม Java-Australian species ได้แก่ P. bifurcatum, P. hillii, P. veitchii และ P. willinkcii กลุ่มนี้มีเกล็ดที่ไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
เกล็ดที่เหง้า ใน P. bifurcatum มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปกึ่งก้นปิด แนบติดอยู่กับเหง้า
รูปร่างเกล็ดที่เหง้ามีความผันแปร มีตั้งแต่ รูปไข่-แกมรูปหอก ไปจนถึง รูปผอมยาวแกมรูปหอกปลายเป็นติ่งแหลม ขนาดของเก็ด ยาว 3-10 มม.หรือมากกว่า และกว้าง และสีที่เกล็ด มีตั้งแต่ขาวไปถึงน้ำตาล และบ่อยครั้งที่พบว่า บริเวณกลางเกล็ดมีสีดำ หรือน้ำตาลเข้ม
ขนบนเกล็ดที่เหง้า สามารถนำลักษณะของส่วนนี้มาใช้กำหนดในการจำแนกชนิดได้ด้วย เช่น P. vassei (P. alcicorne Africa Form) มีขนเป็น unicellular and conical และพบมีผสมกับขนรูปร่าง round glandular ด้วยจำนวนหนึ่ง สำหรับ P. bifurcatum และชนิดในกลุ่มเดียวกัน ขนเป็น multicelluar, gladular และมักแบนราบเมื่อแห้ง
คุณค่าทางโภชนาการของชายผ้าสีดา(ใต้),
การแปรรูปของชายผ้าสีดา(ใต้),
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10441&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com