ชุมเห็ดจีน
ชื่ออื่นๆ : ชุมเห็ดใหญ่ (ไทย) และ เจี๋ยหมิงจื่อ (จีนกลาง)
ต้นกำเนิด : ภาคใต้และภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และในอเมริกาเขตร้อน
ชื่อสามัญ : Chinese Senna, American Sicklepod, Sicklepod
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna obtusifolia (L.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของชุมเห็ดจีน
ต้น ชุมเห็ดจีนเป็นพรรณไม้พุ่ม อายุประมาณ 1 ปี มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม กิ่งก้านแข็ง
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ตรงกลางใบย่อยที่ติดเชื่อมเรียงคู่กันนั้นจะมีตุ่มตาร่องน้ำหนึ่งคู่แบบแหลมๆ มีใบย่อยประมาณ 2-4 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ
ดอก ดอกเป็นสีเหลืองสด มีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ ยาวได้ประมาณ 1.2 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 1 อัน ก้านดอกยาวประมาณ 1-2.3 เซนติเมตร
ผล ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวและเป็นเหลี่ยม มีขนาดยาวประมาณ 15-24 เซนติเมตร ก้านฝักยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ภายในฝักพบเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ขนาดประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ด้านข้างของเมล็ดมีร่อง ผิวเมล็ดเรียบเป็นมัน มีสีน้ำตาลอมเขียว
การขยายพันธุ์ของชุมเห็ดจีน
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ชุมเห็ดจีนต้องการ
ประโยชน์ของชุมเห็ดจีน
เมล็ดนำมาคั่วแล้วต้มในน้ำดื่มแทนชา
สรรพคุณทางยาของชุมเห็ดจีน
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด, ราก และ ใบ
- เมล็ด ยาเย็นเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต แก้อาการปวดศีรษะ หรือปวดศีรษะเนื่องมาจากความดันโลหิตสูง ยาแก้ตาอักเสบ ตาแดงเป็นต้อ ให้ตาสว่าง บำรุงสายตา แก้อาการท้องผูก ยาระบาย ยาแก้พุงโล แก้ตับอักเสบ โรคตับแข็ง รักษาฝีหนองทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก
- ราก นำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน บำรุงสายตา ยาระบาย
- ใบ นำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน บำรุงสายตา ยาระบาย
ชุมเห็ดจีนจะมีฤทธิ์แรงกว่าชุมเห็ดไทย จึงควรระวังในเรื่องของปริมาณการใช้ให้มาก คนในประเทศซูดานมักจะนำใบของชุมเห็ดจีนมาหมักเพื่อทำเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงที่เรียกว่า “Kawal” ใช้รับประทานแทนเนื้อสัตว์ เมล็ดนำมาคั่วแล้วต้มในน้ำดื่มแทนชา หรือบางแห่งจะนำเมล็ดมาคั่วแล้วบดใช้แทนเมล็ดกาแฟ ส่วนยาพื้นบ้านของเกาหลีจะนำมาทำชาที่เรียกว่า gyeolmyeongja โดยสารสกัดจากเมล็ดด้วยแอลกอฮอล์ สามารถยับยั้งเชื้อ Staphelo coccus, Steptro coccus, เชื้อคอตีบ, เชื้อไทฟอยด์ และเชื้อราบริเวณผิวหนังได้ นอกจากนี้สารสกัดจากเมล็ดชุมเห็ดจีนมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสุนัข แมว และกระต่าย อีกทั้งยังมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกให้บีบตัวแรงขึ้น และมีฤทธิ์เป็นยาขับถ่ายในสัตว์ทดลองได้
คุณค่าทางโภชนาการของชุมเห็ดจีน
การแปรรูปของชุมเห็ดจีน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9901&SystemType=BEDO
https://thaiherbal.org
https://www.flickr.com