ช้างกระ ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล และเป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่ง

ช้างกระ

ชื่ออื่นๆ : ช้างค่อม, เอื้องช้างเผือก(กทม.)  ช้างดำ(กทม.,กลาง)  ช้างแดง(กทม.,เชียงใหม่)
ช้างเผือก(กทม.,เหนือ)  เอื้องต๊กโต(เหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ช้างกระ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะของช้างกระ

กล้วยไม้อิงอาศัย ต้นตั้งตรงหรือเอนเล็กน้อย ใบหนา แข็ง ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉก มน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร กลีบนอกคู่ล่างกว้างยาวพอๆ กันกับกลีบนอกบน ส่วนกลีบในเรียวกว่ากลีบนอก เดือยดอกอยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายแผ่นปากหนา แข็งและปลายสองข้างเบนเข้าหากัน ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ยๆ 2 สัน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวมีประสีม่วงแดงทั่วกลีบ กลีบปากสีม่วง ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล และเป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่ง

ต้นช้างกระ
ต้นช้างกระ ใบหนาแข็งปลายใบเป็นแฉก
ดอกช้างกระ
ดอกช้างกระ กลีบดอกสีขาวมีประสีม่วงแดงทั่วกลีบ

การขยายพันธุ์ของช้างกระ

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้า/แยกหน่อ แล้วนำมามัดกับต้นไม้ใหญ่

ธาตุอาหารหลักที่ช้างกระต้องการ

ประโยชน์ของช้างกระ

ปลูกประดับบ้าน

สรรพคุณทางยาของช้างกระ

คุณค่าทางโภชนาการของช้างกระ

การแปรรูปของช้างกระ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11430&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment