ดอกนางแลว ดอกสีขาวปนม่วง มีรสหวานปนขม ปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับได้

ดอกนางแลว

ชื่ออื่นๆ : นางแลว, ลิงลาว (ภาคกลาง) ลีลาว (ภาคอีสาน) ดีกั้ง, ดีปลากั้ง (เลย) ดอกเอี้ยงแลว (แพร่) นางแลว (เชียงใหม)

ต้นกำเนิด : พบในป่าธรรมชาติตามผาหิน ริมห้วย ในชุมชนพบว่ามีการนำจากธรรมชาติมาปลูกรอบบ้าน หรือใต้ร่มไม้ในป่าเมี่ยง

ชื่อสามัญ : Nang Laew

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aspidistra sutepensis K.Larsen

ชื่อวงศ์ : CONVALLARIACEAE

ลักษณะของดอกนางแลว

ลําต้น  เป็นลําต้นใต้ดินลักษณะเป็นแง่งหรือเหง้าทอดไปในดิน ลําต้นอ่อนเห็นข้อปล้องชัดมีสีขาว ลําต้นแก่มีข้อปล้องสั้นสีน้ำตาลอ่อนขนาดของลําต้นลําต้นแตกเป็นกอ

ราก เป็นระบบรากฝอยมีขนาดใหญ่ รากแตกแขนงออกจากลําต้นใต้ดิน

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกปลายใบแหลม ฐานใบแหลม ขอบใบเรียบก้านใบยาว ยาวประมาณ 18-40 ซม. ใบกว้าง 4.5-6.7 ซม. ใบยาว 23.5-28.5 ซม. ใบสีเขียวด้านหน้า ใบสีเขียวมัน หลังใบสากเล็กน้อย มีเส้นใบขนานตามความยาวของใบ

ดอก ออกดอกเป็นดอกช่อ มีลักษณะคล้ายช่อกล้วยไม้ขนาดเล็กและงอกออกมาจากโคนต้นกอหนึ่งจะออกหลายช่อ ก้านดอกสีขาวดอกย่อยสีขาวหรือสีขาวปนม่วงมีกลีบดอก 6 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ภายในดอกเดียวกันจะแทงช่อดอกจํานวนมากในเดือน สิงหาคม-ตุลาคม

ดอกนางแลว
ดอกนางแลว ดอกสีขาวปนม่วง ออกเป็นช่อ

การขยายพันธุ์ของดอกนางแลว

การแยกหน่อ, แยกกอ, เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ดอกนางแลวต้องการ

ประโยชน์ของดอกนางแลว

  • ดอกมีรสหวานปนขม นำไปลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มรับประทานกับน้ำพริกหรือนําไปปรุงร่วมกับผักหลายชนิด เป็นแกงแค
  • สามารถนํามาปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับได้

สรรพคุณทางยาของดอกนางแลว

  • ดอกของลิงลาวมีสาร Antioxidants มีฤทธิ์ต่อต้านสารก่อมะเร็ง บางพื้นที่นำรากมาต้มดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ราก  รสขมเผื่อน  ต้มรัปประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของดอกนางแลว

การแปรรูปของดอกนางแลว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10062&SystemType=BEDO
https://www.gotoknow.org

Add a Comment