แค ต้นแค ไม้ยืนต้นสกุลโสน ไม้พื้นบ้าน ไม้เนื้ออ่อน ดอกแคคล้ายดอกถั่ว

แค ต้นแค ไม้ยืนต้นสกุลโสน ไม้พื้นบ้าน ไม้เนื้ออ่อน ดอกแคคล้ายดอกถั่ว

ชื่ออื่นๆ : แคบ้าน (กลาง), แคขาว แคแดง (กทม. เชียงใหม่), แค (กลาง), แคดอกแดง, แคดอกขาว

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดียหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Sesbania grandiflora (L.) Desv.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agasta, Sesban, Vegetable humming bird

ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Papilionoideae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Agasta

แค ต้นแค ไม้ยืนต้นสกุลโสน ไม้พื้นบ้าน ไม้เนื้ออ่อน ดอกแคคล้ายดอกถั่ว
ดอกแค

ลักษณะของแค

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ดอก ใบสด ยอดอ่อน

การขยายพันธุ์ของแค

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แคต้องการ

ปลูกได้ในทุกพื้ที่ทั้งดินเหนียว ดินร่วน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เนื่องจากใบแคที่ผุแล้วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารมากขึ้น เมื่อเมล็ดแก่จัดจะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุประมาณ 20 ปี และเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกในเขตร้อนชื้น

ประโยชน์ของแค

ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้ เป็นสมุนไพรช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ดอกใช้เป็นอาหาร แก้ไข้หัวลม และช่วยบำรุงอาหาร ฝักอ่อนใช้เป็นอาหารได้

แค ต้นแค ไม้ยืนต้นสกุลโสน ไม้พื้นบ้าน ไม้เนื้ออ่อน ดอกแคคล้ายดอกถั่ว
ดอกแคแดง

สรรพคุณทางยาของแค

เปลือก
– ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
– แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
– ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

ดอก,ใบ – รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

ใบสด
– รับประทานใบแคทำให้ระบาย
– ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
– ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
– ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

คุณค่าทางโภชนาการของแค

คุณค่าทางโภชนาการของแคต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 113 kJ (27 kcal)
คาร์โบไฮเดรต 6.73 g
ไขมัน 0.04 g
โปรตีน 1.28 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1) 0.083 mg  (7%)
ไรโบเฟลวิน (บี2) 0.081 mg  (7%)
ไนอาซิน (บี3)  0.43 mg (3%)
โฟเลต (บี9)  102 μg (26%)
วิตามินซี  73 mg (88%)
แร่ธาตุ
แคลเซียม 19 mg  (2%)
เหล็ก  0.84 mg (6%)
แมกนีเซียม  12 mg (3%)
ฟอสฟอรัส  30 mg (4%)
โพแทสเซียม  184 mg (4%)

การแปรรูปของแค

  • ดอกแคลวกหรือต้มราดกะทิจิ้มน้ำพริก
  • ดอกแคชุบแป้งทอดจิ้มน้ำจิ้ม จิ้มน้ำพริก หรือเอาไปยำ
  • ผัด ดอกแคผัดกุ้ง ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว ดอกแคผัดกระเพรา
  • ดอกแคสอดไส้ หมูสับ กุ้งสับ กระเทียมพริกไทยรากผักชี ชุบแป้งทอด จิ้มน้ำจิ้มไก่หรือซอส
  • แกง แกงส้ม – แกงเหลืองดอกแค

 

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับดอกแค

References : www.bedo.or.th

ภาพประกอบ : th.wikipedia.org/wiki

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

One Comment

Add a Comment