ดองดึง เหง้ามีสารอัลคลอลอย์ดหลายชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิต

ดองดึง

ชื่ออื่นๆ : ก้ามปู (ชัยนาท) คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี) ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู (ภาคกลาง) พันมหา (นครราชสีมา) มะขาโก้ง (ภาคเหนือ) หมอยหีย่า (อุดรธานี)

ต้นกำเนิด : แอฟริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Flame lily, Climbing lily, Turk’s cap, Superb lily, Gloriosa lily

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba L.

ชื่อวงศ์ : Colchicaceae

ลักษณะของดองดึง

ต้น  ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ยาวได้ถึง 5 เมตร มีเหง้าใต้ดินทรงกระบอกโค้ง

ใบ  ใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลมงอเป็นมือเกาะ ไร้ก้าน

ต้นดองดึง
ต้นดองดึง ไม้เถาล้มลุก มีเหง้าใต้ดินทรงกระบอกโค้ง

ดอก  ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกใหญ่ ยาว 6-10 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม. ดอกมีสีแดงด้านบน หรือตามขอบกลีบ มีสีเหลืองด้านล่าง บางครั้งมีสีเหลืองซีด อมเขียว หรือสีแดงทั้งดอก เกศรเพศผู้มี 6 อัน ก้านยาว 3-5 ซม. อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. แยกเป็น 3 แฉก

ดอกดองดึง
ดอกดองดึง ดอกมีสีแดงด้านบน หรือตามขอบกลีบ มีสีเหลืองด้านล่าง

ผล  ผลรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 ซม. แตกตามรอยประสาน เมล็ดกลมสีแดงส้มจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของดองดึง

ใช้เมล็ด, การแยกเหง้า

ธาตุอาหารหลักที่ดองดึงต้องการ

ประโยชน์ของดองดึง

เหง้าดองดึง มีสารอัลคลอลอย์ดหลายชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะสาร colchicines ถ้าใช้ในปริมาณน้อยสามารถใช้รักษาโรคเก๊าและมะเร็งได้

สรรพคุณทางยาของดองดึง

  • ราก, หัวดองดึง
    – แก้โรคเรื้อน คุดทะราด บาดแผล และขับผายลม รับประทานแก้ลมพรรดึก แก้เสมหะ แก้ลมจับโปง ลมเข้าข้อ (รูมาติซั่ม) หัวเข่าปวดบวมได้ดี
  • หัว ใช้ต้มรับประทานแก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด
    – ขับพยาธิ สำหรับสัตว์พาหนะ
    – ฝนทาแก้พิษงู พิษตะขาบ แมลงป่อง
    – ทาแก้โรคผิวหนัง
    – มีสารเมททิลโคลซิซีGloriosa superba L.
  • แป้งที่ได้จากหัว, ราก
    – แก้โรคหนองใน
    – ใช้สารสะกัดสำหรับเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืช

ข้อควรระวัง

  • สารมีฤทธิ์ข้างเคียงเป็นอันตรายถึงตายได้
  • ราก พบ Methylcolchicine

สาร colchicine ภายในดองดึงนั้นส่งผลเสียต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร อาการของพิษนั้นจะเกิดขึ้นประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับประทานสารนี้เข้าไปในร่างกาย อาการคือ จะรู้สึกแสบร้อน ในปากและลำคอ คอแห้ง กระหายน้ำ มีความรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก กลืนไม่ลง คลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้องและอาเจียนอย่างรุนแรง อุจจาระร่วง ปวดท้องปวดเบ่ง จนไม่มีอุจจาระ สาเหตุเป็นเพราะร่างกายเสียน้ำมาก ส่งผลให้หมดสติ หากไม่รีบแก้ไข อุณหภูมิในร่างกายต่ำลงและตายในที่สุด

โทษที่เกิดจากการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ หลังจากที่ได้รับสารพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมง จะเป็นช่วงที่อาการหนักที่สุด การขับถ่ายสารออกจากร่างกายจะเป็นไปอย่างช้าๆ พิษของสารที่เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้ง จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย และปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้รับสารนี้เข้าไป และจะเกิดเป็นพิษต่อคนที่กินนมที่มีสารพิษนี้เข้าไปด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของดองดึง

การแปรรูปของดองดึง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9728&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment