ดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี ผลโตกว่าผลพริกขี้หนูสวน รสชาติเผ็ดจัดจ้านและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี

ชื่ออื่นๆ : ดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี, พริกนางชี

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : BIRD CHILI, CHILI

ชื่อวิทยาศาสตร์ : CAPSICUM FRUTESCENS LINN.

ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE

ลักษณะของดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี

ต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.3-1.5 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบสอบ สีเขียวสด

ดอก เป็นสีขาว ออกเดี่ยวๆ หรือ 3-5 ดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านดอกยาวกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายเป็นแฉก 5 แฉก และจะคงรูปอยู่จนกระทั่งกลายเป็นผล กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างบาง ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีเกสรตัวผู้จำนวน 5 อัน

ผล ชูตั้งขึ้น ติดผลเป็นช่อ ช่อละ 3-5 ผล หรืออาจมากกว่านั้น ผลเป็นรูปกลมรีและยาวโคนผลใหญ่ ปลายผลเรียวแหลม
ผลโตกว่าผลพริกขี้หนูสวนเห็นชัดเจน ขนาดใหญ่เท่ากับพริกกะเหรี่ยงชนิดที่มีผลเป็นสีแดง ผลเป็นสีขาวนวล หรือ สีเขียวอ่อน  จึงถูกตั้งชื่อตามสีของผลว่า “พริกนางชี” หรือ “พริกชี” ดังกล่าว เวลาติดผลจะดกมาก ภายในมีเมล็ด รสชาติเผ็ดจัดจ้านเหมือนพริกขี้หนูสวน และพริกกะเหรี่ยง ที่มีผลเป็นสีแดง ทุกอย่าง แถมมีความกรอบ และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวอีกด้วย คนชอบกินเผ็ดรับประกันว่าต้องชื่นชอบ “พริกนางชี” หรือ “พริกชี” นี้ ดอกและผลติดทั้งปี

ต้นพริกชี
ต้นพริกชี ไม้ล้มลุก ใบรูปไข่ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี

ใช้เมล็ด/โดยการเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชีต้องการ

ประโยชน์ของดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี

ใบสด ใช้แต่งสีอาหาร

ผล มีสารที่มีรสเผ็ดชื่อ CAPSAICIN ใช้แต่งรสอาหาร มีวิตามินเอและซีมาก ทำขี้ผึ้งทาถูนวดดีมาก

สรรพคุณทางยาของดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี

ผล ช่วยขับเสมหะ แก้ไข้ แก้ตานซาง ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน

ผลพริกชี
ผลพริกชี ผลชูตั้งขึ้น ลูกกลมโต ปลายแหลม

คุณค่าทางโภชนาการของดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี

การแปรรูปของดีปลีชี (ภาคใต้) หรือ พริกชี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11033&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment