ตะแบก ไม้ต้นผลัดใบ ดอกสีม่วงอมชมพู มีสรรพคุณทางยา

ตะแบก

ชื่ออื่นๆ : แลนไห้ (เชียงใหม่) ตะแบกขาวใหญ่ (ปราจีนบุรี) ตะแบกใหญ่ (ราชบุรี,นครราชสีมา) เปลือยดง (นครราชสีมา) ตะแบกหนัง (จันทบุรี) เปลือย (สุโขทัย,พิษณุโลก) ตะแบกแดง (ประจวบคีรีขันธ์) อ้าย (สุราษฎร์ธานี) ป๋วย, เปื๋อย, เปื๋อยขาว, เปื๋อยตุ้ย, เปื๋อยค่าง, เปื๋อยน้ำ, เปื๋อยลั้วะ, เปื๋อยเปลือกหนา (ภาคเหนือ) เปือย (ลานช้าง) ตะแบก, ตะแบกใหญ่, ตะแบกหนัง (ภาคกลาง) กะแบก (ไทย) ตะคู้ฮก (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) บองอยาม (มาเลเซีย-ปัตตานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Bungor

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia floribunda Jack

ชื่อวงศ์ : Lythraceae

ลักษณะของตะแบก

ต้น : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกเรียบเป็นมัน สีเทาหรือเทาอ่อน มีรอยแผลเป็นดวงตลอดทั้งต้น

ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร ปลายมน มีติ่งแหลมเล็กโคนมน ขอบใบม้วนขึ้น ใบอ่อนสีออกแดง

ดอก : สีม่วงอมชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูม รูปทรงคล้ายลูกข่าง มีจุกสั้นๆอยู่ที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงมีสันนูนพาดตามยาว กลีบดอก 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้นๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-3.6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ จำนวนมาก

ผล : รูปไข่ กว้าง 0.8-1 เซนติเมตร ยาว 1.3-1.7 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกแตกออกเป็น 6 แฉก ถ้วยกลีบเลี้ยงจะหุ้มโคนของผล เช่นเดียวกับอินทนิลน้ำและอินทนิลบก ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ผลแก่ เป็น สีน้ำตาล แข็ง เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีปีก  เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้ม

ผลตะแบกจะเริ่มแก่ในช่วงประมาณเดือน ตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เมล็ดจะร่วงหล่นเมื่อเปลือกผลแตกและอ้า ขอนดอก เป็นเนื้อไม้ที่ได้จากต้นตะแบกหรือต้นพิกุลที่มีราลง เนื้อไม้จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้มประขาว มองเห็นเป็นจุด สีขาวกระจายทั่วไป ภายในผุเป็นโพรงเล็ก ๆ และมีกลิ่นหอม รสจืด ขอนดอกอาจจะเนื้อไม้ที่ได้จากต้นตะแบกหรือต้นพิกุล ก็ได้ที่มีอายุมาก ๆ ยอดหักเป็นโพรง มักมีเชื้อราเข้าไปเจริญในเนื้อไม้และไม้ยืนต้นตาย เนื้อไม้จึงเหมือนไม้ผุ

ต้นตะแบก
ต้นตะแบก เปลือกเรียบเป็นมัน สีเทาหรือเทาอ่อน
ดอกตะแบก
ดอกตะแบก สีม่วงอมชมพูและจะเปลี่ยนเป็นสีขาว

การขยายพันธุ์ของตะแบก

การใช้เมล็ด

นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก: ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดิน ถ้าปลูกบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะตะแบกเป็นต้นไม้ที่ทรงพุ่มโต

ธาตุอาหารหลักที่ตะแบกต้องการ

ประโยชน์ของตะแบก

  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสระบุรี โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นนะแบกไว้ประจำบ้านจะทำให้มีฐานะสูงขึ้น และมีความมั่นคง แข็งแรง เพราะ แบก คือ การแบกไว้ไม่ให้ตกสามารถยกขึ้นไว้ให้สูงไม่ให้ตกต่ำ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นตะแบกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
  • ผล ทำไม้ประดับแห้งได้
  • ทั้งต้น ใช้ในการจัดสวนปลูกเพื่อให้ร่มเงามีดอกสวยงาม
ผลตะแบก
ผลตะแบก ผลเป็นรูปยาว มีขนาดเล็ก

สรรพคุณทางยาของตะแบก

  • เปลือก เป็นยาแก้ลงแดง ใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด และมูกเลือด
  • ขอนดอก เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงทารกครรภ์ ใช้เป็นยาแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ใช้เป็นยาแก้ไข้ร้อนเพื่อตรีโทษ แก้เหงื่อ แก้เสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของตะแบก

การแปรรูปของตะแบก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9196&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

6 Comments

Add a Comment