ตะไคร้หอม สมุนไพรไล่ยุง ไล่แมลง

ตะไคร้หอม

ชื่ออื่นๆ : จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของเอเชีย

ชื่อสามัญ : Citronella grass

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon nardus Rendle

ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะของตะไคร้หอม

เป็นพืชวงศ์หญ้าอายุหลายปี ลำต้นเป็นข้อๆ ใบรูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาวกว่าตะไคร้บ้าน ใบกว้าง 5-20 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร แผ่นใบแคบ ยาว และนิ่มกว่าตะไคร้บ้าน มีสีเขียว ผิวเกลี้ยง และมีกลิ่นหอมเอียน ก้านใบเป็นกาบซ้อนกันแน่นสีเขียวปนม่วงแดง รากฝอยแตกออกจากโคน

ต้นและใบมีกลิ่นฉุนจนรับประทานเป็นอาหารไม่ได้ ทั้งต้น มีรสปร่า ร้อนขม  มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาทีโดยสารสกัดด้วยเอทานอลจากลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้

ตะไคร้หอม
ตะไคร้หอม ลำต้นเป็นข้อ ใบรูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาว

การขยายพันธุ์ของตะไคร้หอม

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ตะไคร้หอมต้องการ

ประโยชน์ของตะไคร้หอม

  • แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
  • ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย
  • สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย

วิธีใช้ : นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง

สารเคมี น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9% ประกอบด้วย geraniol 57.6-61.1% Citronellal 7.7-14.2% eugenol, camphor, methyl eugenol.

ลำต้นตะไคร้หอม
ลำต้นตะไคร้หอม ลำต้นเป็นข้อๆ ก้านใบเป็นกาบซ้อนกันแน่นสีเขียวปนม่วงแดง

สรรพคุณทางยาของตะไคร้หอม

ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม

วิธีใช้ตะไคร้หอมกำจัดแมลง :

  • วิธีที่ 1 : น้ำมันของต้นตะไคร้หอม ใช้ผสมกับน้ำมันอื่นๆ ฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูพืช
  • วิธีที่ 2 : ใช้ใบสดที่แก่จัดผสมกับหัวข่าสด และใบสะเดาสด จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด ใช้ในอัตรา 4:4:4 กก. แช่ในน้ำ 2 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาเฉพาะน้ำมาเป็นหัวเชื้อ เมื่อจะนำมาใช้ ให้ใช้หัวเชื้อที่หมักได้ ในอัตรา 10 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นกำจัดแมลงในพืชผัก ข้าว และ ไม้ผลบางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ได้ผลดี
  • วิธีที่ 3 : นำใบแห้ง มาใช้รองพื้นยุ้งฉาง จะช่วยลดการเข้าทำลายของมอดข้าวเปลือก หรือรองไว้ในรังไก่ จะช่วยทำให้ไม่มีไรไก่มารบกวน
  • วิธีที่ 4 : โดยปลูกตะไคร้หอมใต้ต้นไม้ผล หรือในแปลงผักเป็นระยะ ๆ เมื่อถึงช่วงมืดค่ำก็ใช้ ไม้ฟาดที่ต้นตะไคร้หอม เพื่อให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา กลิ่นจะฟุ้งกระจายไป ในอากาศ ช่วยขับไล่ผีเสื้อกลางคืน ไม่ให้มาวางไข่
  • วิธีที่ 5 : สูตรกำจัดหนอน นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำไปผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดหนอนที่รบกวนในแปลงพืช ก่อนนำไปใช้ให้ผสกับสารจับใบ เช่น สบู่ แชมพู เป็นต้น

ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณ : น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม
– ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด
– ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก ทั้งต้น
-ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด ประโยชน์ทางยา
แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก) ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย วิธีใช้ : นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง
– ใช้เหง้าฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนๆ พอเหลือง ใช้ครั้งละ 1 หยิบมือชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา รินเฉพาะ ส่วนใสดื่มจนหมดถ้วยวันละ 3 ครั้ง
– ใช้ต้นสด วันละ 1 กำมือ (หนัก 40-60 กรัม) ต้มกับน้ำแบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ ถ้วยชาก่อนอาหาร
ต้น เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิต ขับระดู หรือ ถ้าผู้ที่ท้องทานเข้าไปจะทำให้แท้งได้ แก้แผลในปาก แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้อาเจียน

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้หอม

การแปรรูปของตะไคร้หอม

นำมากลั่นได้น้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นเครื่องหอม เช่น สบู่ หรือพ่นทาผิวหนังกันยุง แมลง ทั้งต้น มีรสปร่า ร้อนขม แก้ริดสีดวงในปาก ขับโลหิต ทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้ง ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9978&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment