ตันหยง ไม้โบราณ เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างได้

ตันหยง

ชื่ออื่นๆ : ตันหยง, บุหงาตันหยง

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Divi-Divi

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia coriaria (Jacq.) Willd.

ชื่อวงศ์ :  LEGUMINOSAE – CAESALPINIACEAE

ลักษณะของตันหยง

ต้น  ต้นสูง 6-10 เมตร ผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่ม ลำต้นและกิ่งก้านจะคดเคี้ยว เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตามยาว

ต้นตันหยง
ต้นตันหยง เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตามยาว

ใบ  ใบแระกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อยขนาดเล็ก รูปขอบขนานแคบ ปลายมนกว้าง 0.1-0.2 เซนติเมตร ยาว 0.5-0.9 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบย่อย

ใบตันหยง
ใบตันหยง ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมีขนาดเล็ก

ดอก  สีขาวอมเขียวหรือสีเขียวอมเหลืองอ่อน กลิ่นหอมแรก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 10 อัน ออกดอกเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

ดอกตันหยง

ผล  เป็นฝักแบน บิดงอ กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ปลายฝักมีติ่งแหลม ฝักดิบสีเขียวเมื่อฝักแก่เป็นสีดำ

ผลตันหยง
ผลตันหยง ฝักแบน บิดงอ ปลายฝักมีติ่งแหลม ฝักดิบสีเขียว

การขยายพันธุ์ของตันหยง

การใช้เมล็ด, กิ่งตอน

ในประทศไทยขึ้นได้ทุกภาค

ธาตุอาหารหลักที่ตันหยงต้องการ

ประโยชน์ของตันหยง

  • เนื้อไม้และผล ให้สีเหลือง แดง
  • ผัก มีสารแทนนิน ใช้ฟอกหนัง ย้อมหนังสัตว์
  • เนื้อไม้ของตันหยงใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างได้

สรรพคุณทางยาของตันหยง

  • ฝัก มีสารฝาด นำมาแช่น้ำใช้ล้างบาดแผล รักษาแผลเปื่อย

คุณค่าทางโภชนาการของตันหยง

การแปรรูปของตันหยง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9509&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment