ตานดำ ผลมีพิษใช้เบื่อปลาและนำมาย้อมสีได้

ตานดำ

ชื่ออื่นๆ : ดำดง (ประจวบคีรีขันธ์); ตานดำ, ตานส้าน (ภาคกลาง); ถ่านไฟผี (ภาคเหนือ); มะเกลือป่า (นครสวรรค์, ปราจีนบุรี); มะตูมดำ (สระบุรี); อิน (กาญจนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros montana Roxb.

ชื่อวงศ์ : Ebenaceae

ลักษณะของตานดำ

ไม้ยืนต้น  สูงได้ถึง 15 ม. กิ่งมีหนาม ใบรูปรี รูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ยาว 2-12 ซม. แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 3-7 เส้น ก้านใบยาว 0.2-1 ซม. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 1-2 มม. มี 4 กลีบ แฉกลึกเกือบจรดโคน มีขนประปรายทั้งสองด้าน ดอกรูปคนโท ยาว 0.8-1 ซม. มี 4 กลีบ แฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง เกสรเพศผู้มี 14-20 อัน รังไข่ที่ไม่เจริญมีขนยาว ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 5 มม. รังไข่มี 8 ช่อง เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย 4 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 4-12 อัน ผลกลม  เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 ซม. กลีบเลี้ยงบานออกหรือพับงอกลับ เมื่อแก่มีสีเหลือง  ก้านผลยาว 5-7 มม. เอนโดสเปิร์มเรียบ

ตานดำ
ตานดำ กิ่งมีหนาม ใบรูปรี

การขยายพันธุ์ของตานดำ

ใช้ส่วนอื่นๆ

ธาตุอาหารหลักที่ตานดำต้องการ

ประโยชน์ของตานดำ

ผลมีพิษใช้เบื่อปลาและนำมาย้อมสีได้

สรรพคุณทางยาของตานดำ

มีสรรพคุณเป็นยาสมาน ลดไข้ เปลือกแก้ปวดท้อง โรคบิด
เนื้อไม้และราก รสเมาเบื่อเย็น ขับพยาธิไส้เดือน ตัวตืด แก้พิษตานซาง แก้ผอมแห้ง
แก่น แก้ไตพิการ ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้ผอมแห้ง บำรุงร่างกาย
เปลือกต้น ลดไข้ แก้อักเสบ ฝนน้ำกิน วันละ 2-4 ครั้งแก้ไข้

ผลตานดำ
ผลตานดำ ผลกลม ผลแก่สีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของตานดำ

การแปรรูปของตานดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9920&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment