ตานหม่อน
ชื่ออื่นๆ : ข้ามักหลอด ช้ามักหลอด (หนองคาย), ลีกวนยู (กรุงเทพฯ), ตานหม่น (นครศรีธรรมราช), ตานค้อน (สุราษฎร์ธานี)
ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Tarlmounia elliptica (DC.)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ลักษณะของตานหม่อน
ต้น : ตานหม่อนเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นและพยุงตัวขึ้นไป เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น ลำต้นแตกกิ่งก้านยาวเรียว แตกลำไต้ใหม่จากลำต้นที่ทอดไปตามพื้นดิน
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ โดยลักษณะของใบจะเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือบางครั้งเป็นหยักห่างๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 ซม. และยาวประมาณ 6-10 ซม. ใบเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบหนาคล้ายหนัง หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีเงินหรือสีขาวนวล
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกแน่น ที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ ใกล้ปลายยอดกลีบดอกสีขาวหรือสีชมพู เชื่อมติดเป็นรูปกรวยปลายแยกเป็น 5 แฉก
ผล : เป็นผลแห้งไม่แตก เมล็ดล่อน สีดำ รูปกระสวย
การขยายพันธุ์ของตานหม่อน
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ตานหม่อนต้องการ
ชอบดินร่วน น้ำปานกลาง แดดเต็มวัน
ประโยชน์ของตานหม่อน
- ยอดอ่อนนำมารับประทานเป็นผัก ลวก ต้มรับประทานเป็นผักกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว
- นิยมปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อยตามกำแพงหรือกันสาดเพื่อช่วยลดความแข็งกระด้างของสิ่งก่อสร้าง
สรรพคุณทางยาของตานหม่อน
- ราก ช่วยคุมธาตุในร่างกาย ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยแก้ตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ ยาขับพยาธิไส้เดือน ช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยบำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์
- ต้น ช่วยแก้ตานซาง ช่วยรักษาลำไส้ ยาขับพยาธิ ยาขับพยาธิไส้เดือน
- ใบ ช่วยแก้ตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ ช่วยฆ่าพยาธิ ยาห้ามเลือด
- ดอกช่วยแก้ตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ ช่วยฆ่าพยาธิ
ตามตำรายาไทยโบราณ สามารถใช้ต้น ราก ดอก ใบ แก้ตานซางในเด็ก รักษาแผลในลำไส้ ฆ่าพยาธิ บำรุงผิวพรรณให้สดชื่น และบำรุงธาตุ
คุณค่าทางโภชนาการของตานหม่อน
การแปรรูปของตานหม่อน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11574&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com