ตีนเป็ดทราย
ชื่ออื่นๆ : ตีนเป็ดทราย, ตีนเป็ดเล็ก (ภาคกลาง) เทียนหนู, เนียนหนู (สตูล) ปงปง (พังงา) ปากเป็ด, มะตากอ (มลายู-นราธิวาส) รักขาว (จันทบุรี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : cerbera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cerbera manghas L.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของตีนเป็ดทราย
ต้น เป็นไม้ต้น สูง 5-15 เมตร ลำต้น เรือนยอดกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงสลับ ออกรวมกันเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ
ดอก สีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ใจกลางดอกสีแดงอมชมพู กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกันเวียนเป็นเกลียว รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ปลายด้านหนึ่งจะยาวและแหลมกว่าอีกด้านหนึ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน 2 กลีบด้านนอกใหญ่กว่า 3 กลีบด้านใน ออกดอกตลอดปี
ผล รูปกลม สีเขียว ผิวเรียบ เมื่อแก่มีสีแดง เป็นมัน เมล็ดแข็งน้ำหนักเบา
การขยายพันธุ์ของตีนเป็ดทราย
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ตีนเป็ดทรายต้องการ
ประโยชน์ของตีนเป็ดทราย
- เมล็ด มีรสเฝื่อนเมาใช้เป็นยาเบื่อปลา
- ผล เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ดใช้ทำเป็นยาใส่ผมแก้ผมหงอก รักษาขนยาฆ่าแมลง
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ระหว่างตีนเป็ดทรายและตีนเป็ดน้ำ (ตีนเป็ดทะเล) คือ ใจกลางดอกตีนเป็ดทรายมีสีแดงอมชมพู ในขณะที่ใจกลางดอกตีนเป็ดน้ำมีสีเหลือง และผลตีนเป็ดน้ำมีขนาดใหญ่กว่าตีนเป็ดทราย
สรรพคุณทางยาของตีนเป็ดทราย
- ใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ทำให้อาเจียน และเป็นยาถ่าย เป็นยาขับพยาธิ
- เปลือก แก้ไข้ ขับนิ่ว เป็นยาถ่าย เป็นยาแก้โรคนิ่ว แก้ไข้ ทำให้อาเจียน
- ดอก แก้ริดสีดวงทวาร
ส่วนที่เป็นพิษ ทุกส่วน ถ้ากินใช้พอเหมาะจะเป็นยาสมุนไพร ถ้ากินมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผล จะทำให้ท้องร่วง อาเจียน ทำให้แท้งลูกและตายได้
ใบและผล มีสารที่เป็นพิษต่อหัวใจ คือ cerberin ซึ่งจะเป็นพิษมากเมื่อถูกย่อย ในอดีตเคยใช้ยางของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษเพื่อล่าสัตว์ เนื่องจากพืชในสกุลนี้เป็นพิษ ชื่อสกุลจึงมาจาก Cerberus สุนัขในนรกของเทพนิยายกรีก ในมาดากัสการ์ ใช้เมล็ดของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษ
การออกฤทธิ์ : พิษต่อหัวใจและเลือด
ส่วนที่เป็นพิษ : ยาง / ผล / เมล็ด
สารพิษ : thevetin B, thevobioside
อาการ : ระคายเคืองเยื่อบุในปากและกระเพาะอาหารก่อน ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะและปวดท้อง ถ้ารับประทานเข้าไปมาก และล้างท้องไม่ทัน สารพิษจะถูกดูดซึมผ่านทางลำไส้และแสดงพิษต่อหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว ขึ้นกับชนิดของไกลโคไซด์
วิธีการรักษา :
- นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- ล้างท้อง
- รักษาตามอาการ
- ถ้าจาก EKG พบว่า มี Ventricular tachycardia ควรให้ potossium chloride (5-10 g) หรือให้ K+ (80 mEq/L) การเจ็บแขนอาจช่วยด้วยการนวด และ ประคบน้ำร้อน
คุณค่าทางโภชนาการของตีนเป็ดทราย
การแปรรูปของตีนเป็ดทราย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10794&SystemType=BEDO
www.medplant.mahidol.ac.th
www.flickr.com