ต้นจาก ใบคล้ายใบมะพร้าว แต่มีความเหนียวและกว้างกว่า ใบนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน

ต้นจาก

ชื่ออื่นๆ : จาก, อัตต๊ะ

ต้นกำเนิด : บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

ชื่อสามัญ : Nipa Palm, Atap palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nypa fruticans Wurmb.

ชื่อวงศ์ : Arecaceae

ลักษณะของต้นจาก

ต้น เป็นปาล์มแตกกอจากลำต้นใต้ดินหรือลำต้นที่เลื้อยไปบนดิน โดยโผล่ก้านใบและตัวใบขึ้นมาอยู่เหนือดิน ลำต้นจะแตกแขนงอยู่ใต้ดินทำให้ขึ้นเป็นก่อๆ และหลายทอด ต้นจากมีความสูงประมาณ 3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว มีอินทรียวัตถุสูง และมีน้ำท่วมขัง ชอบแสงแดดจัด

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร แผ่นใบหนา ปลายใบลักษณะเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม (ลักษณะคล้ายใบมะพร้าว) และเป็นรูปรางน้ำคว่ำ ที่ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างมีสีนวล ส่วนกาบใบใหญ่ห่อโคนต้น ก้านใบที่แตกใหม่จะเป็นสีม่วงแดง ส่วนโคนใบจะมีกะเปาะอากาศ เป็นตัวช่วยพยุงให้ใบชูขึ้นเหมือนชูชีพ ส่วนกาบใบนี้บางครั้งจะเรียกว่า “พอนใบ” ส่วนช่อดอกที่แทงออกมาเรียกว่า “นกจาก”

ต้นจาก
ต้นจาก เป็นปาล์มแตกกอจากลำต้นเลื้อยไปบนดิน

ดอก ดอกมีสีเหลือง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกแน่นระหว่างกาบใบ ดอกเป็นรูปกลม ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกจะชูตั้งขึ้นและโค้งลง มีความยาวประมาณ 25-65 เซนติเมตร

ดอกจาก
ดอกจาก ดอกมีสีเหลือง

ชื่อสามัญ

ผล เป็นจุกเรียกว่า “โหม่งจาก” ลักษณะของผลเป็นรูปทรงไข่กลับ (คล้ายกับผลระกำ แต่ไม่มีหนาม) แบนและนูนตรงกลาง ผลมีสีน้ำตาลเรียบเป็นมัน มีความกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6.5-7.5 เซนติเมตร ผลมีสันแหลมหรือมีร่องผลประมาณ 9-10 ร่อง ข้างในมีเนื้อเมล็ดสีขาว มีปริมาณของเนื้อไม่มากนัก และใช้รับประทานได้ มีรสชาติคล้ายกับลูกตาลสด ภายในผลมีเมล็ดเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีขาว

ผลจาก
ผลจาก ผลมีสีน้ำตาลเรียบเป็นมัน เป็นจุก
เนื้อผลจาก
เนื้อผลจาก เนื้อเมล็ดสีขาว

การขยายพันธุ์ของต้นจาก

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ต้นจากต้องการ

ประโยชน์ของต้นจาก

ใบจากมีลักษณะคล้ายใบมะพร้าว แต่มีความเหนียว และกว้างกว่า ทำให้สามารถใช้นำมาเย็บเป็นตับ เรียกว่า “ตับจาก” แล้วนำไปมุงหลังคา กันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะใช้งานไปนาน ใบจากกรอบ เปลี่ยนจากสีเขียวเข้ม เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล กระทั่งเกือบเป็นสีดำ แต่ก็ยังคงกันฝนและแดดได้ จนกว่าจะแห้งกรอบและผุไป คำว่า “หลังคาจาก” หรือ “หลังคามุงจาก” จึงเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย การใช้ใบจากมุงหลังคายังคงนิยมใช้จนปัจจุบัน โดยเฉพาะในแถบที่อยู่ใกล้ลำคลองและที่ราบลุ่มมีต้นจากชุกชม

ใบจากยังมีประโยชน์ใช้ห่ออาหาร ที่เรียกว่า ขนมจาก ซึ่งเป็นขนมที่ทำจากแป้ง น้ำตาล และมะพร้าว ผสมกันจนเหลวได้ที่ แล้วนำห่อด้วยใบจาก ปิ้งบนไฟ ก็จะได้ขนมจากที่อร่อย มีกลิ่นหอม รสชาติดี เป็นขนมไทยอีกอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี แม้อาจมีการใช้ใบมะพร้าวมาห่อ แต่ก็ได้รสชาติที่ไม่อร่อยอย่างการใช้ใบจากจริงๆ

ใบจากที่ยังไม่แก่ หากยังใช้เป็นใบห่อยาสูบได้ โดยลอกใบจากที่ตากแห้งแล้วออกเป็นแผ่นบางๆ แล้วตัดให้พอดีสำหรับมวนยาสูบผลจากที่สุกแล้ว จะเป็นเยื่อสีขาว ใส นุ่ม มีรสหวาน นิยมรับประทานเป็นของหวาน มาช้านานดังความปรากฏใน”พระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” ที่ยกมาข้างบน

นอกจากนี้ในบางท้องถิ่นยังตัดปลายช่อดอกของจาก เพื่อเอาน้ำตาลจากไปทำเป็นน้ำเมา เช่นเดียวกับที่นิยมใช้น้ำตาลจาก
ต้นตาลและมะพร้าว ส่วนผลอ่อนที่แตกหน่อ จะมีจาวอยู่ข้างใน นำมารับประทานได้เช่นเดียวกับจาวตาล หรือจาวมะพร้าว ส่วนกลีบดอกนั้นนำไปเป็นส่วนผสมของชาสมุนไพรได้

ใบจาก
ใบจาก แผ่นใบหนา ปลายใบลักษณะเรียวแหลม

สรรพคุณทางยาของต้นจาก

ใบ รสฝาดสมาน ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องร่วง แก้ลมจรต่างๆ แก้เสมหะและดับพิษทั้งปวง
นม รสฝาดกร่อย แก้ลมจร ลมป่วง แก้ไข้ท้องเสีย แก้พิษตานซาง ลิ้นเป็นละอองฝ้าขุมขาวต่างๆ (นมจากเป็นปุ่มงอออกมาจากโคนของก้านใบจาก
น้ำจากต้นที่ยังอ่อน รักษาริดสีดวงทวาร

คุณค่าทางโภชนาการของต้นจาก

การแปรรูปของต้นจาก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11241&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment