ต้นตะขบ ผลมีรสหวานฝาดเล็กน้อย ลูกขบ ภาษาใต้ ผลมีปริมาณวิตามินบีสูง

ต้นตะขบ

ชื่ออื่นๆ :  ตะขบป่า (ภาคกลาง) ตานเสี้ยน, มะเกว๋นนก, มะเกว๋นป่า (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายหาด

ชื่อสามัญ : ตะขบป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Flacourtia cataphracta Roxb.

ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE

ลักษณะของต้นตะขบ

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น
ใบ : มีสีเขียว ลักษณะของใบจะกลมคล้ายกับใบพุทรา
ผล : เป็นลูกกลม ๆ โตขนาดเท่ากับลูกพุทรา มีรสหวานแต่จะฝาดเล็กน้อย ผลสุกมีสีแดงอม ดำ ผลจะสุกในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม

ตะขบป่า
ใบมีขนปกคลุม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงคล้ำ

การขยายพันธุ์ของต้นตะขบ

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ต้นตะขบต้องการ

ประโยชน์ของต้นตะขบ

ผลใช้รับประทาน และนำมาใช้เป็นยาฝาดสมานได้

สรรพคุณทางยาของต้นตะขบ

  • ราก  กินแก้ไตอักเสบ
  • ต้น ยางจากต้นใช้เข้าเครื่องยา แก้อหิวาตกโรค
  • เปลือกต้น ชงกินแก้เสียงแห้ง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ เปลือกตำรวมกับน้ำมัน ใช้ทาถูนวดแก้ปวดท้อง แก้คัน
  • ใบ น้ำยางจากต้น และใบสด  กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้โรคปอดอักเสบ แก้ไอ แก้บิด และท้องเสีย ช่วยย่อย น้ำต้มใบแห้งกินเป็นยาฝาดสมาน ขับเสมหะ แก้หืดหอบ หลอดลมอักเสบ ขับลม และบำรุงร่างกาย
  • ใบที่ย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังคลอดบุตร
  • ผล  กินได้ มีปริมาณวิตามินบีสูง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการโรคดีซ่าน ม้ามโต แก้คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นยาระบาย
  • เมล็ด ตำพอกแก้ปวดข้อ

คุณค่าทางโภชนาการของต้นตะขบ

การแปรรูปของต้นตะขบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9655&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment