ต้นผักกะเดา
ชื่ออื่นๆ : สะเลียม จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญ : Siamese neem tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton.
ชื่อวงศ์ : meliaceae
ลักษณะของต้นผักกะเดา
สะเดา เป็นไม้โตเร็ว เจริญได้ดีในแถบร้อน ที่มีปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 400-1,200 มม. เป็นพืชทน อากาศแห้งแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่จะเจริญเติบโตเร็ว ในสภาพดินที่ไม่ชื้นแฉะ และปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 800 ม
การขยายพันธุ์ของต้นผักกะเดา
-/ใช้วิธีเพาะเมล็ด ซึ่งสามารถทำได้จำนวนมาก เพราะปริมาณของ ผลสะเดามีมากในทุก ๆ ปี แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้นาน เพราะเมล็ดจะสูญเสียเปอร์เซ็นต์ความงอกงามได้เร็วมาก หลังจาก เก็บผล สุกมาและเอาเนื้อออกหมดแล้วล้างเมล็ดให้สะอาด นำไปเพาะทันที จะงอก ได้ดีมาก เมื่อสะเดาเจริญเติบโตจะติดผลเมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป และให้ผลผลิต เต็มที่เมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไปปริมาณของผลสะเดาจะอยู่ระหว่าง 10-50 กก./ต้น/ ปี
การปลูกสะเดา
– การเตรียมพื้นที่ ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ เก็บเศษไม้และวัชพืช สุมเผาใน ช่วงฤดูร้อน แล้วปักหลักกำหนดระยะปลูก
– ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก เช่น ต้องการไม้ขนาดเล็ก ใช้ระยะปลุก 1×2 หรือ 2×2 เมตร ต้องการไม้ใหญ่ สำหรับใช้ในการก่อสร้างและ ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ระยะปลูก 2×4 หรือ 4×4 เมตร ต้องการเมล็ดไปทำสารฆ่าแมลง ใช้ระยะปลูก 6×6 เมตร แต่เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่ อาจปลูกระยะถี่ก่อน เมื่อเรือนยอด เบียดชิดกันจึงตัดสะเดาบางส่วนไปใช้ประโยชน์ ให้ต้นสะเดาที่เหลือ มีระยะห่างตาม วัตถุประสงค์การปลูกต่อไป
– หลุมปลูก ขนาดที่เหมาะสม คือ กว้างxยาวxลึก ประมาณ 25×25×25 ซม.
– วิธีปลูก หลังจากขุดหลุมปลูกแล้ว ตากดินประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรค ในดิน แล้วจึงใส่ปุ่ยร็อคฟอสเฟส รองก้นหลุม อัตรา 150-200 กรัมต่อหลุม หรือครึ่งกระป๋องนม แล้วนำกล้าไม้ที่เตรียมไว้ ย้ายลงปลูก ขนาดกล้าไม้ที่ เหมาะสมควรสูง 8-12 นิ้ว อายุประมาณ 4-5 เดือน ฤดูปลูก ควรเป็นฤดูฝน โดยเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตกหนัก ฉีกถุงพลาสติกใส่กล้าออก วางกล้าลงตรง กลางหลุม กลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น
การดูแลรักษา
1. การกำจัดวัชพืช ในปีแรกจำเป์นต้องเอาใจใส่กำจัดวัชพืชออกบ้าง เพื่อไม่ให้สูงคลุมเบียดบังแย่งแสง และอาหาร ต้นสะเดา
2. การใส่ปุ๋ย เมื่อกล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวแล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อน กาแฟ โดยการ พรวนดินรอบโคนต้น แล้วปุ๋ยตาม
3. การริดกิ่ง หากต้องการให้สะเดามีลำต้นตรงเปลา ใช้ประโยชน์ในการแปรรูปได้มากขึ้น ควรหมั่นริดกิ่งอยู่ สม่ำเสมอ
4. การป้องกันไฟ ควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 6-8 เมตร รอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันไฟไหม้ ในฤดูแล้ง
การเก็บเกี่ยวผลสะเดา
สะเดาจะเริ่มติดผลเมื่ออายุ 3-5 ปี ให้ทำการเก็บผลสะเดาสุกจากต้นหรือผลที่ ร่วงใหม่ๆ รีบนำมาแยกเนื้อหุ้มผลออกจากเมล็ด แล้วล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำ เมล็ดไปตากแดด 1-2 วัน แล้วนำไป ผึ่งลมในที่ร่มจนแห้งสนิท จึงค่อยบรรจุใส่ภาชนะ ที่มีอากาศถ่ายเท ได้ดี เช่นกระสอบป่าน ถุงตาข่ายไนล่อน เป็นต้น เก็บไว้ในที่แห้งเย็น ไม่อับชื้น เพื่อป้องกันเชื้อรา
ธาตุอาหารหลักที่ต้นผักกะเดาต้องการ
ประโยชน์ของต้นผักกะเดา
1. เนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา เข็ม และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดี
2. เป็นอาหารและพืชสมุนไพร เช่น ในดอก และยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร และยาเจริญอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกำเดา บำรุงธาตุ ผลแก้โรคหัวใจ ยางดับพิษร้อน เปลือกแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาสมานแผล ผลอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ เมล็ดใช้รักษาโรคเบาหวาน
3. เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลง สะเดามีสารชนิดหนึ่งชื่อ กะซ้าหอยแรคติหน สามารถนำมาสกัด เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงได้ พบมากที่สุดในส่วนของเมล็ด
4. ปลูกเพื่อเป็นแนวกันลมและให้ร่ม เนื่องจากมีใบหนาทึบ รากลึก ทนแล้ง ทนดินเค็ม และผลัดใบในเวลาสั้น
5. อื่นๆ เช่น น้ำมันจากเมล็ดสะเดาใช้ทำเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เปลือกมีสารแทนนิน ใช้ในอุตสาหะกรรมฟอกหนัง กากสะเดาใช้เป็นปุ๋ย ผสมเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
สรรพคุณทางยาของต้นผักกะเดา
สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. สะเดาอินเดีย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟีนเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลมโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลมเรียวแคบมากคล้ายเส้นขร ผลสุกในเดือน ก.ค.-ส.ค.
2. สะเดาไทย มีลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม ผลสุกในเดือน เม.ย.- พ.ค.
3. สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม ขอบใบจะเรียบ หรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ปลายเป็นติ่งแหลม ขผักพื้นบ้าน สมุนาดใบและผลใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก ผลสุกในเดือน พ.ค.- ส.ค.
** ต้นสะเดาอินเดีย และสะเดาไทย เป็นชนิด (species) เดียวกัน แต่ต่างพันธุ์ (variety) ส่วนสะเดาช้างหรือต้นเทียม ไม้เทียม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับสะเดาไทย และสะเดาอินเดีย แต่คนละชนิด (species) สะเดาทั้ง 3 ชนิด นี้จะมีลักษณะ ใบและต้นแตกต่าง กันดังกล่าวมาแล้ว
คุณค่าทางโภชนาการของต้นผักกะเดา
การแปรรูปของต้นผักกะเดา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10220&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com