ต้นพญารากดำ
ชื่ออื่นๆ : ค่าสามซีก (เชียงใหม่) แคหาง (ราชบุรี) จันทน์ดง ทรายเด่น (ขอนแก่น) พญารากดำ(ชลบุรี) โมดดง (ระยอง) สะบันงาป่า (ภาคเหนือ) เหลือง (ลำปาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hubera cerasoides (Roxb.) Chaowasku
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะของต้นพญารากดำ
ไม้ต้น สูง 5-12 เมตร ลำต้นเปลาตรง กิ่งออกเกือบตั้งฉากกับต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปรีแกมรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ขนาด 4-10 x 2-3 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมนและเบี้ยว ก้านใบยาว 2-5 มิลลิเมตร ดอกออกเดี่ยวตามซอกใบ สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ก้านดอกยาว 2-3 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ดอกขนาด 1.5-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงสลับกันเป็น 2 ชั้น ผลออกเป็นกลุ่ม แต่ละผลรูปค่อนข้างกลม ขนาด 6-8 มิลลิเมตร ก้านผลเรียว ยาว 2-3 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดง


การขยายพันธุ์ของต้นพญารากดำ
ใช้กิ่ง/ลำต้น/-
ธาตุอาหารหลักที่ต้นพญารากดำต้องการ
ประโยชน์ของต้นพญารากดำ
–
สรรพคุณทางยาของต้นพญารากดำ
เปลือก รักษาแผลในปาก
ราก แก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย) คุมกำเนิด บำรุงกำลังสำหรับบุรุษ และแก้ไข้
คุณค่าทางโภชนาการของต้นพญารากดำ
การแปรรูปของต้นพญารากดำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9249&SystemType=BEDO
http://www.khaohinsonbg.org/index.php?page=&mo=59&action=page&id=1144657&pb=32