ต้นพฤกษ์ เนื้อไม้แข็งใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

พฤกษ์

ชื่ออื่นๆ : ก้ามปู, ชุงรุ้ง, พฤกษ์ (ภาคกลาง) กะซึก (พิจิตร) กาแซ กาๆ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี) ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ) กรีด (กระบี่) คะโค (ภาคกลาง) จเร (เขมร-ปราจีนบุรี) จ๊าขาม (ภาคเหนือ) จามจุรี, ซึก (กรุงเทพฯ) ตุ๊ด, ถ่อนนา (เลย) ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) พญากะบุก (อรัญ-ประเทศ) มะขามโคก, มะรุมป่า,ชุงรุ้ง (นครราชสีมา) กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)

ต้นกำเนิด

ชื่อสามัญ : Indian Walnut , Labbeck Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia lebbeck (L.) Benth.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE 

ลักษณะของพฤกษ์

ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 10-25 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย 

ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่เรียงสลับแผ่ใบย่อยรูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปไข่ ปลายมนหรือตัด โคนสอบรูปหัวใจเบี้ยวขอบเรียบ หรืออาจเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด

ดอก ดอกเล็กสีขาว ออกดอกเป็นช่อกระจุกกลมตามง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง ออกดอก มีนาคม – เมษายน เป็นฝัก กันยายน – ธันวาคม

ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน แบนและบาง กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 20 – 35 เซนติเมตร ปลาย และโคนมน สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแกมเหลือง ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมื่อแห้งสีฟางข้าว มีเมล็ดแบนรี 4 – 12 เมล็ด 

ต้นพฤกษ์
ต้นพฤกษ์ เปลือกต้นสีเทาเข้มหรือน้ำตาลอม เหลืองขรุขระ
ดอกพฤกษ์
ดอกพฤกษ์ ดอกเล็กสีขาว กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของพฤกษ์

การใช้เมล็ด หรือตอนกิ่ง

วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด

แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 80 – 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น แช่ไว้เป็นเวลา 16 ชั่วโมง

ข้อสังเกตและผลการทดลอง

  1.  เมล็ดจะงอกใช้เวลาประมาณ 12 วัน
  2. ภายในระยะเวลา 7 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30-40 ซม. สามารถย้ายปลูกได้

ธาตุอาหารหลักที่พฤกษ์ต้องการ

ประโยชน์ของพฤกษ์

  • ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานได้ มีรสมัน
  • เนื้อไม้แข็ง ลายไม้สวย ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือทางการเกษตร
  • เปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
  • พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดมหาสารคาม โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ผลพฤกษ์
ผลพฤกษ์ ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน

สรรพคุณทางยาของพฤกษ์

  • เปลือกมีรสฝาดใช้รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือก
  • เมล็ดรักษาโรคผิวหนัง
  • ใบใช้ดับพิษร้อนทำให้เย็น

คุณค่าทางโภชนาการของพฤกษ์

การแปรรูปของพฤกษ์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
www.nectec.or.th
www.dnp.go.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment