ต้นพีช (ท้อ)
ชื่ออื่นๆ : ท้อ , ลูกท้อ
ต้นกำเนิด : ประเทศจีน
ชื่อสามัญ : พีช
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus persica (L.) Batsch
ชื่อวงศ์ : Rosaceae
ลักษณะของต้นพีช (ท้อ)
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ลำต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำ กิ่งหลัก และกิ่งแขนงมีปานกลาง ทำให้เป็นทรงพุ่มโปร่ง ไม่หนาทึบ กิ่งก้านเป็นสีเขียว หรือสีน้ำตาลอมแดง ไม่มีขน
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปรียาว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยเล็กน้อย ใบยาว 8-15 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร ก้าวใบยาว 1 เซนติเมตร
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามกิ่ง ดอกสีชมพูอ่อน มี 5 กลีบ กลีบดอกรูปมนรี ปลายกลีบสีแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร กลีบดอกยาว 2 เซนติเนตร มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก โคนดอกมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ออกดอกตอนปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว
ผล ผลรูปกลมรีปลายค่อนข้างแหม ผลมีสีเหลืองอ่อน ปลายผลมีสีแดงเล็กน้อย มีขนสั้นๆสีขาวปกคลุม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร เนื้อในนิ่มและชุ่มน้ำ ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดรูปร่างกลมรี สีแดง คล้ายรูปหัวใจ มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จะให้ผลในระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม
การขยายพันธุ์ของต้นพีช (ท้อ)
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นพีช (ท้อ)ต้องการ
ประโยชน์ของต้นพีช (ท้อ)
ประโยชน์ลูกท้อ/ลูกพีช
1. ลูกท้อหรือลูกพีชใช้เป็นผลไม้รับประทานสด เนื้อผลหนาคล้ายผลแอปเปิ้ล มีสีขาวอมเหลือง มีรสกรอบ หวาน และกลิ่นหอมอ่อนๆ
2. เนื้อลูกท้อหรือลูกพีชแปรรูปทำแยม ลูกท้อดอง ลูกท้อเชื่อม ลูกท้อแช่อิ่ม เป็นต้น โดยเฉพาะลูกท้อขนาดเล็กที่นิยมดองเป็นผลไม้หรือลูกท้อแช่อิ่ม
3. ชาวจีนมักเปรียบกลีบดอกลุกท้อเหมือนแก้มผู้หญิงที่มีสีชมพูอ่อน นอกจากนั้น ยังถือว่าต้นลูกท้อเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ โดยหมอผีหรือผู้เฒ่ามักใช้กิ่งลูกท้อปักยื่นในทิศตะวันออกหรือทิศใต้เพื่อใช้เป็นไม้บังคับ ส่วนใบลูกท้อนิยมใช้ผสมลงในหม้อยาหรือหม้อน้ำมนต์สำหรับพรมขับไล่ผี และวันขึ้นปีใหม่ อีกทั้งชาวจีนยังนิยมดื่มน้ำลูกท้อหรือนำลำต้น กิ่ง และใบมาต้มน้ำอาบในวันขึ้นปีใหม่ของจีน รวมถึงนำไม้ลูกท้อมาทำเครื่องราง เครื่องประดับแขวนไว้หน้าบ้านสำหรับกันภูตผี ตำนานที่เกี่ยวกับลูกท้อในประเทศจีนกล่าวถึงลุกท้อว่า ลูกท้อสวรรค์จะมีช่วงการสุกที่ประมาณ 3000 ปี/ครั้ง และหากผลท้อสุก เหล่าเทพ และเซียนทั้งหลายจะเข้าแย่งเก็บกินลูกท้อ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้คงกระพัน และความเชื่อเหล่านั้นยังสะท้อนด้วยภาพเขียนรูปเด็กหรือผู้เฒ่ายืนถือลูกท้อ ชื่อว่า เหลาซี แปลว่า ผู้สูงอายุหรือผู้มีอายุยืนยาว มีลักษณะเด่นที่ หน้าผากกว้างยาวกว่าคนปกติ [1] อ้างถึงใน นิตยาสารสารคดี (2537) ทั้งนี้ การรับประทานลูกท้อหรือลูกพีช ควรนำลูกท้อมาล้างน้ำ และขัดขนออกก่อนหรือใช้เศษผ้าขัดขน ก่อนนำมาล้างน้ำ เพราะหากรับประทานขณะที่มีขน อาจทำให้ระคายเคืองคอได้
สรรพคุณทางยาของต้นพีช (ท้อ)
–
คุณค่าทางโภชนาการของต้นพีช (ท้อ)
คุณค่าทางโภชนาการลูกท้อ (ผลสุก 100 กรัม)
น้ำกรัม 88.87
พลังงานกิโลแคลอรี่ 39
โปรตีนกรัม 0.91
ไขมันกรัม 0.25
คาร์โบไฮเดรตกรัม 9.54
ไฟเบอร์กรัม 1.5
น้ำตาลกรัม 8.39
Minerals
แคลเซียมมิลลิกรัม 6
การแปรรูปของต้นพีช (ท้อ)
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10013&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments