ต้นมะหาด
ชื่ออื่นๆ : หาดหนุน (ภาคเหนือ) ปวกหาด (เชียงใหม่) หาด (ภาคกลาง) มะหาด (ภาคใต้) มะหาดใบใหญ่ (ตรัง) กาแย , ตะแป , ตะแปง (นราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย)
ต้นกำเนิด : เอเชียใต้
ชื่อสามัญ : Lok hat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
ชื่อวงศ์ : moraceae
ลักษณะของต้นมะหาด
ต้น มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบ
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5-20 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบ
ดอก ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็ก
ผล เป็นผลรวมมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5-5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลย่อยมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี


การขยายพันธุ์ของต้นมะหาด
การเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ขึ้นได้ในดินทุกชนิด วิธีปลูกจะต้องเพาะต้นก่อนแล้ว จึงนำเอาไปปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ระยะแรกดูให้น้ำ และกำจัดวัชพืชด้วย มะหาดที่เจริญเติบโตดีจะให้ผลเมื่ออายุ 5 ปีแล้ว
ธาตุอาหารหลักที่ต้นมะหาดต้องการ
–
ประโยชน์ของต้นมะหาด
- ผลรสเปรี้ยวอมหวานใช้รับประทาน
- ลำต้นใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้เกษตรกรรม
- ต้นให้ความร่มรื่น ให้ร่มเงา ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
- ราก เปลือก เนื้อไม้ ผล ให้สีเหลืองใช้ย้อมไหมและฝ้าย
- เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้าง ทำโปงลาง
- เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของต้นมะหาด
- แก่น ช้แก่นมะหาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยวกับน้ำจนเกิดฟอง ช้อนฟองออก กรองกับผ้าขาวบาง พักสะเด็ดน้ำ แล้วนำมาตากให้แห้งหรือย่างกับไฟ นำมาบดจะได้ผงสีเหลืองเรียกว่า “ปวกหาด” ใช้ผงประมาณ 3-4 กรัมหรือ 1-2 ช้อนชา ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว สามารถผสมน้ำมะนาวลงไปด้วย รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังปวดหาดไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือตาม เพื่อถ่ายตัวพยาธิออกมา สามารถทานแก้อาการท้องผูก, ท้องอืด, ท้องเฟ้อได้หรือนำผงปวกหาดมาละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน
- ราก ช้ลดอาการไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับถ่ายถ่ายพยาธิ แก้พิษร้อน
- เปลือก ใช้ลดอาการไข้
คุณค่าทางโภชนาการของต้นมะหาด
การแปรรูปของต้นมะหาด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9206&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com
One Comment