ต้นมะหาด
ชื่ออื่นๆ : หาดหนุน (ภาคเหนือ) ปวกหาด (เชียงใหม่) หาด (ภาคกลาง) มะหาด (ภาคใต้) มะหาดใบใหญ่ (ตรัง) กาแย , ตะแป , ตะแปง (นราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย)
ต้นกำเนิด : เอเชียใต้
ชื่อสามัญ : Lok hat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artoccarpus iacucha roxb
ชื่อวงศ์ : moraceae
ลักษณะของต้นมะหาด
มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5-20 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบ ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็ก ผลเป็นผลรวมมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5-5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลย่อยมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี


การขยายพันธุ์ของต้นมะหาด
ใช้เมล็ด/นิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
วิธีปลูกจะต้องเพาะต้นก่อนแล้ว จึงนำเอาไปปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ระยะแรกดูให้น้ำ และกำจัดวัชพืชด้วย มะหาดที่เจริญเติบโตดีจะให้ผลเมื่ออายุ 5 ปีแล้ว
ธาตุอาหารหลักที่ต้นมะหาดต้องการ
–
ประโยชน์ของต้นมะหาด
ผลใช้รับประทาน
ลำต้นใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้เกษตรกรรม

สรรพคุณทางยาของต้นมะหาด
แก่นไม้แก้ตานขโมย ช่วยขับเสมหะ หอบหืด
ปวกหาดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืดได้ ละลายกับน้ำใช้ทาแก้ผื่นก็ได้
คุณค่าทางโภชนาการของต้นมะหาด
การแปรรูปของต้นมะหาด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9206&SystemType=BEDO
https://www.rspg.info/plant/01036
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94#/media/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Wikispecies-logo.svg
https://www.flickr.com