ต้นยอ
ชื่ออื่นๆ : ยอ, แยใหญ่ (แม่ฮ่องสอน), ตาเสือมะตาเสือ (ภาคเหนือ), ยอบ้าน (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : อินเดีย ถึงตอนใต้ของจีน
ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะของต้นยอ
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 – 6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุด กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกใบตรงข้ามกันเป็นคู่ตามข้อต้น ลักษณะใบรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนใบสอบเรียว แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเขียวอ่อนปนขาว มองเห็นชัดเจน ก้านใบสั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กแบบสมมาตรตามรัศมี เป็นรูปดอกเข็ม มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีกลิ่นหอม
ผล เป็นผลรวม คือผลที่เกิดจากช่อดอกซึ่งเบียดกันแน่น ลักษณะรูปทรงกลมหรือรี มีตาหรือตุ่มรอบๆ ผล ผลอ่อนมีสีเขียว พอแก่จะมีสีเหลืองหรือขาวนวล มีกลิ่นฉุน
เมล็ด มีเมล็ดสีน้ำตาลไหม้ จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ของต้นยอ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นยอต้องการ
ประโยชน์ของต้นยอ
ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้ทั้ง ใบ ราก ผล
- ลูกยอสุก รับประทานโดยนำมาจิ้มกับพริกกับเกลือหรือเอามาสับเอาแต่เนื้อกวนกับน้ำตาล ใบยอใช้รองห่อหมก แกงอ่อมใบยอ แกงเผ็ดปลาขมิ้นใบยอ ผักลวกจิ้มน้ำพริก
- ราก ใช้ย้อมสีให้สีแดงหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกให้สีแดง เนื้อในเปลือกสีเหลืองใช้ย้อมสีผ้าบาติก ในฮาวาย สกัดสีเหลืองจากรากยอใช้ย้อมผ้า มีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดยอ ซึ่งมีกรดลิโนเลอิกมาก ใช้ทาลดการอักเสบและลดการเกิดสิว
- ใบสดใช้สระผม กำจัดเหา
สรรพคุณทางยาของต้นยอ
- ผลยอแก่มี asperuloside แอนโทรควิโนน ช่วยขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ประเทศมาเลเซีย ใช้น้ำคั้นจากผลรักษาดีซ่าน
- ผลดิบ ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์
- ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน เป็นยาขับลม บำรุงธาติ เจริญอาหาร แก้เหงือกเปื่อยบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน
คุณค่าทางโภชนาการของต้นยอ
ใบ มีวิตามินเอ 40,000 ยูนิตสากลต่อ 100 กรัม
ผลยอมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose
การแปรรูปของต้นยอ
การทำน้ำหมักลูกยอ น้ำลูกยอ ลูกยอตากแห้ง เป็นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9261&SystemType=BEDO
http:// clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/herb/morinda.html
https:// th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%AD
3 Comments