รวงผึ้ง
ชื่ออื่นๆ : ดอกน้ำผึ้ง, สายน้ำผึ้ง (เหนือ) น้ำผึ้ง (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด : ประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ
ชื่อสามัญ : Yellow star
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schoutenia glomerata king subsp. Paregrina (Craib) Roekm. Et Martono
ชื่อวงศ์ : TILIACEAE
ลักษณะของรวงผึ้ง
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกสีน้ำตาลปนขาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปรีถึงรูปรีขอบขนาน ขนาด 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 4-9 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ก้านใบมีขน ใบสีเขียวใต้ใบสีอ่อนกว่าและมีเกล็ดเล็กๆ
ดอก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยง เชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปดาว ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1.5 ซม. ดอกรวงผึ้งจะเบ่งบานในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
ผล ผลแห้ง แก่ไม่แตก ทรงกลม ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร มีขน
การขยายพันธุ์ของรวงผึ้ง
เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่รวงผึ้งต้องการ
ปลูกเลี้ยงง่าย ทนแล้งข้อดีของพันธุ์ไม้
ประโยชน์ของรวงผึ้ง
- ปลูกประดับสวน ดอกสวยออกเต็มต้น มีกลิ่นหอมอ่อน
- ต้นรวงผึ้งเป็นพรรณไม้ประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องด้วยดอกรวงผึ้งมีสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ และผลิดอกช่วงวันพระราชสมภพพอดี เมื่อพระองค์เสด็จฯ ประกอบพระราชกรณียกิจตามสถานที่ต่าง ๆ ก็จะทรงปลูกต้นรวงผึ้งพระราชทานไว้เพื่อเป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร
สรรพคุณทางยาของรวงผึ้ง
–
คุณค่าทางโภชนาการของรวงผึ้ง
การแปรรูปของรวงผึ้ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9598&SystemType=BEDO
www.flickr.com