ต้นรัง เรียง เรียงพนม
ชื่ออื่นๆ : เปา, เปาดอกแดง (ภาคเหนือ) รัง (ภาคกลาง) เรียง, เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์) ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่) แลบอง, เหล้ท้อ, เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ฮัง (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม พบได้ที่พม่า ไทย ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู
ชื่อสามัญ : รัง Burmese sal, Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea siamensis Miq.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะของต้นรัง เรียง เรียงพนม
ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ความสูง 10-25 ม. ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง เปลือกนอกมีสีน้ำตาลปนเทา เปลือกแตกแบบร่องสี่เหลี่ยมหรือร่องยาวลึก เปลือกในสีน้ำตาลแดง
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายมน โคนใบรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบโค้งคันศร ท้องใบเกลี้ยง ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง
ดอก ดอกสีขาวครีมหรือเหลืองอ่อน ช่อแบบแยกแขนง กลับเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ยาว 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ปลายกลีบบิดเวียนเป็นรูปกังหัน เกสรตัวผู้ 15 อัน รอบเกสรเพศเมีย
ผล ผลแห้งไม่แตก รูปไข่ ผิวแข็ง ขนาด 1×1.5 เซนติเมตร มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก สั้น 2 ปีก ยาว 3 ใน 4 ของปีกยาว มีเส้นปีก 7-9 เส้น ผลมีสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นรัง เรียง เรียงพนม
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักต้นรัง เรียง เรียงพนมต้องการ
ประโยชน์ของต้นรัง เรียง เรียงพนม
- นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา
- เนื้อไม้แข็ง นิยมนำมาทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแข็งแรง และรับน้ำหนักมาก
- พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดอุดรธานี ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของต้นรัง เรียง เรียงพนม
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน
- เปลือก ใช้แก้โรคท้องร่วง
- ใบ ตำพอก รักษาแผลพุพอง
คุณค่าทางโภชนาการของต้นรัง เรียง เรียงพนม
การแปรรูปของต้นรัง เรียง เรียงพนม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9578&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment