ต้นต๋าว หรือ ต้นลูกชิด ผลนิยมนำมาต้มในน้ำเชื่อม หรือ อบแห้ง

ต้นต๋าว

ชื่ออื่นๆ : กาฉก (ชุมพร) ฉก (ใต้) ตาว, ต๋าว (เหนือ) เต่าเกียด (กาญจนบุรี) โตะ (ตราด) เนา (ตรัง) ลูกชิด (กลาง) วู้ (กะเหรี่ยง -กาญจนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Sugar palm, Aren, Arenga palm, Areng palm, Black-fiber palm, Gomuti palm, Kaong, Irok

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avenga pinnata

ชื่อวงศ์ : ARECACEAE

ลักษณะของต้นต๋าว

ต้นลูกชิด หรือต๋าว จัดเป็นไม้ยืนต้นแบบต้นเดี่ยวที่มีอายุยืน ลักษณะลำต้นตรงสูงชะลูด มีหลายขนาด มีความสูงประมาณ 6-15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้นราว 30-65 เซนติเมตร ลำต้นมีขนาดใหญ่กว่าต้นตาล ลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ เป็นพืชขนาดใหญ่ที่อยู่ในตระกูลปาล์ม

ใบต๋าว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ก้านทางใบยาวประมาณ 6-10 เมตร มีใบย่อยประมาณ 30-130 ใบ ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับใบมะพร้าว แต่จะใหญ่และแข็งกว่า โดยใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนและแหลม ส่วนโคนใบเป็นรูปเงี่ยงใบหอก ขอบเรียบ ผิวหนา หลังใบเป็นสีเขียวเข้มมันวาว ส่วนใต้ใบมีสีขาวนวล เมื่อใบแก่จะห้อยจนปิดคลุมลำต้น

ดอกต๋าว ออกดอกเป็นช่อ เป็นช่อดอกเชิงลดขนาดใหญ่ โดยดอกของต้นตาวจะเป็นดอกชนิด Polgamous คือมีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกันแต่อยู่คนละช่อดอก และสามารถออกดอกได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต (ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนออกดอกประมาณ 15-20 ปี) โดยช่อดอกตัวผู้จะยาวประมาณ 1-2 เมตร ส่วนช่อดอกสมบูรณ์เพศจะยาวกกว่าดอกตัวผู้ โดยออกดอกตามซอกใบ ห้อยยาวลงได้มากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ออกดอกจนเป็นผลสุกแก่จนร่วงหล่น อาจจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี

ผลต๋าว ออกผลเป็นกลุ่มเป็นทะลาย ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สีเขียว มีขนาดประมาณ 3-4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่มีสีเหลืองและสีดำ หรือมีสีม่วงเข้มจนถึงสีดำ ส่วนเมล็ดมีสีขาวขุ่น มีลักษณะนิ่มและอ่อน ในแต่ละผลจะมี 2-3 เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว ส่วนเมล็ดแก่มีสีดำ เปลือกของเมล็ดจะกลายเป็นกะลาบาง ๆ แข็ง ๆ มีสีดำ ส่วนเนื้อในของเมล็ดจะเรียกว่า “ลูกชิด” โดยต้นตาวจะให้ผลในช่วงอายุ 15-20 ปี แต่ส่วนมากแล้วจะให้ผลครั้งเดียว และจะให้มากที่สุดไม่เกิน 4 ครั้ง  ต้นต๋าวออกดอก. และติดผลช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

ต้นลูกชิด
ลำต้นมีขนาดใหญ่ ต้นมีสีน้ำตาลเข้ม สูง

พิษของต้นลูกชิด

ผิวของเปลือกเมล็ดมีพิษ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ หากใช้กรรมวิธีที่ไม่ถูกต้องในการแกะ ก่อนการนำมารับประทานควรนำไปต้มก่อนแล้วค่อยผ่าเพื่อแคะเอาเนื้อออกมา

ขนตามผิวของผลตาว รวมไปถึงน้ำเลี้ยงจากเปลือกผล ทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนังอย่างรุนแรงได้

ผลลูกชิด
ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่มีสีเหลืองและสีดำหรือสีม่วงเข้มจนถึงดำ

การขยายพันธุ์ของต้นต๋าว

ใช้เมล็ด

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่าที่มีความชื้นสูง หรือตามริมแม่น้ำลำธาร หรือตามโขดหิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าต้นตาวมักขึ้นตามเชิงเขาในบริเวณที่มีดินร่วนและมีอากาศชุ่มชื้น ส่วนรากตาว มีระบบรากเป็นแบบรากฝอย รากจะเจริญออกจากใต้ดิน

ธาตุอาหารหลักที่ต้นต๋าวต้องการ

ประโยชน์ของต้นต๋าว

  1. หน่ออ่อนและเนื้อในเมล็ดสามารถนำมารับประทานได้ นอกจากนี้หน่ออ่อนและเนื้อข้างในลำต้นก็สามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร เช่น การทำเป็นแกงหรือใส่ข้าวเบือน เป็นต้น
  2. เนื้อในเมล็ดหรือลูกชิดสามารถนำมารับประทานสด ๆ ได้เลย หรือนำไปต้ม หรือนำมาเชื่อมกับน้ำตาลรับประทานเป็นของหวานได้
  3. ยอดอ่อนใช้นึ่งรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปแกงได้ นอกจากนี้ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำไปดองเปรี้ยวเก็บไว้ใช้แกงส้มหรือทำแกงกะทิ
  4. ยอดของลำต้นสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับยอดมะพร้าว
  5. ใบอ่อนสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักจิ้มเช่นเดียวกับกะหล่ำปลี
  6. แกนในของลำต้นอ่อนใช้ประกอบอาหารได้ เช่น ทำเป็นแกงใส่ไก่หรือหมู เป็นต้น
  7. งวงตาวหรือดอกตาวสามารถนำมาใช้ทำเป็นน้ำตาลชกคล้ายกับน้ำตาลโตนดได้ ก้านช่อดอกมีน้ำหวาน อาจนำมาใช้ทำเป็นไวน์ผลไม้หรือน้ำส้มได้
  8. น้ำหวานที่ได้จากผลสามารถนำมารับประทานได้เช่นเดียวกับน้ำตาลโตนด และยังนำไปทำน้ำส้มที่เรียกว่า “น้ำส้มชุก” สำหรับใช้ในการปรุงอาหารหรือทำกระแช่ หรือเอาส่วนที่เคี่ยวเป็น “น้ำผึ้งชุก” ไปหมักสำหรับทำสุรา
  9. ลำต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือใช้ทำเป็นอุปกรณ์การเกษตรได้ ส่วนลำต้นในระยะที่เริ่มออกดอกจะมีแป้งสะสมอยู่ภายใน สามารถนำแป้งมาใช้ประโยชน์ได้
  10. ใบตาวแก่สามารถนำมาใช้มุงหลังคา กั้นฝาบ้าน ตกแต่งงานรื่นเริงในหมู่บ้าน หรือนำมาใช้จักสานตะกร้า ส่วนใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นมวนบุหรี่ ส่วนก้านใบเมื่อนำมาเหลารวมกันทำเป็นไม้กวาด และก้านทางใบนำมาใช้ทำฟืนสำหรับก่อไฟ
  11. ก้านทางใบสามารถนำมาผลิตไฟเบอร์ แต่ในบางครั้งอาจรากนำมาทำไฟเบอร์ก็ได้ แต่ไฟเบอร์ที่สำคัญนั้นจะทำมาจากลำต้น ซึ่งจะมีความยาวและมีสีเทาดำ ในอินโดนีเซียจะนำไปทำเป็นเชือกสำหรับใช้กับเรือประมง ฯลฯ
  12. เส้นใยจากลำต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นแปรงได้
ผลลูกชิดต้ม
เมล็ดมีสีขาวขุ่น มีลักษณะนิ่มและอ่อน

สรรพคุณทางยาของต้นต๋าว

คุณค่าทางโภชนาการของต้นต๋าว

คุณค่าทางโภชนาการของลูกชิด ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 19 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม
  • โปรตีน 0.1 กรัม
  • เส้นใย 0.5 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • น้ำ 94.7 กรัม
  • วิตามินบี 2 0.01 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 0.01 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม

การแปรรูปของต้นต๋าว

สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นลูกชิดแช่อิ่ม ลูกชิดปี๊บ ลูกชิดกระป๋อง ลูกชิดอบแห้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://khaolan.redcross.or.th

Add a Comment