สะตือ
ชื่ออื่นๆ : ดู่ขาว, เดือยไก่ (ภาคเหนือ) แห้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ประดู่ขาว (ภาคตะวันออก)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Altingia excelsa Noronha (Altingia siamensis Craib)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crudia chrysantha (Pierre) K. Schum.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDAE
ลักษณะของสะตือ
ต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 8-25 เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ค่อนข้างกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นแผ่นหนา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลถึงแดงเข้ม กิ่งอ่อน ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขน และเลี้ยงในเวลาต่อมา
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 4-10 เซนติเมตร มีใบประกอบย่อย 4-6 ใบ เรียงสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-8 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนสอบ มีเส้นแขนงใบย่อย 8-10 คู่
ดอก ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ผล ผลค่อนข้างแบน รูปรี กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร มีเส้นนูนตามขวาง ด้านข้างฝักห่างๆ และมีขนสีน้ำตาลคลุมหนาแน่น ปกติมี 1 เมล็ด ผลแก่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ของสะตือ
ธาตุอาหารหลักที่สะตือต้องการ
ประโยชน์ของสะตือ
- เนื้อไม้ สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลคล้ำ แข็งและเหนียว นิยมใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องเรือนและงานก่อสร้าง
- ปลูกให้ร่มเงา
สรรพคุณทางยาของสะตือ
- ใบ ใช้ต้มอาบแก้โรคอีสุกอีใส โรคหัด
- เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง
- เอาทั้งต้นซึ่งเรียกว่าทั้งห้า ปรุงต้มเป็นยาแล้วเอาน้ำกินและอาบ รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชา แก้ไข้หัว หัดหลบลงลำไส้ เหือด ดำแดง สุกใส ฝีดาษ แก้ไข้หัวทุกชนิด
คุณค่าทางโภชนาการของสะตือ
การแปรรูปของสะตือ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th, www.identity.bsru.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
สะตือแก้โรคอีสุกอีไส โรคหัดได้