สายน้ำผึ้ง
ชื่ออื่นๆ : หยิ่นตงเถิง, จินหยิงฮวา, จินหยิงฮัง, ซวงฮัง (จีนกลาง) หยิ่มตังติ่ง, กิมงิ่งฮวย (จีนแต้จิ๋ว)
ต้นกำเนิด : เขตอบอุ่นของทวีปเอเชียตะวันออก เช่นในญี่ปุ่น
ชื่อสามัญ : Woodbine, Lonicera, Japonese Honeysuckle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonicera japonica Thumb.
ชื่อวงศ์ : CAPRIFOLIACEAE
ลักษณะของสายน้ำผึ้ง
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก สามารถเลื้อยไปได้ไกลตั้งแต่ 5-8 เมตร หรืออาจมากกว่านี้ เถาจะมีสีเขียว แต่เมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเปลือกมีรอยแผลเป็นร่องเล็ก ๆ แตกออกตามยาวของต้นหรือเถา ตามเถาหรือกิ่งจะปกคลุมไปด้วยขนนุ่ม
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ขนานกันตามข้อของต้น ใบค่อนข้างแข็ง รูปใบมน ปลายใบแหลม
ดอก ออกเป็นช่อตามยอด หรือปลายกิ่งและตามง่ามใบ ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 20 ดอก ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย กลีบดอกเมื่อบานออกจะมีลักษณะเป็นกลีบเล็ก ๆ มี 5 กลีบ เชื่อมติดกันบริเวณฐานกลายเป็นหลอด ดอกเมื่อแรกบานจะมีสีขาว แล้วจะค่อย ๆ กลายเป็นสีเหลือง และจะมีสีเหลืองจัดขึ้นเมื่อดอกใกล้โรย แต่ละดอกจะมีใบประดับ 1 คู่
ฝัก/ผล ทรงกลม เล็กๆ สีเขียว แต่เมื่อแก่หรือสุกจะสีดำ
การขยายพันธุ์ของสายน้ำผึ้ง
การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง และปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่สายน้ำผึ้งต้องการ
ประโยชน์ของสายน้ำผึ้ง
ดอกมีกลิ่นหอมเย็นและกลิ่นแรงขึ้นในเวลากลางคืน เป็นไม้ประดับ ทั้งปลูกลงกระถาง
สรรพคุณทางยาของสายน้ำผึ้ง
สรรพคุณในตำรายาจีน
- ดอกมีรสชุ่มและขมเล็กน้อย เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้พิษ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ไข้หวัดใหญ่ มีไข้ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว รักษาโรคผิวหนัง แก้ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย แก้พิษงูสวัดดอกคั้นรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร
- เถามีรสหวานชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยทะลวงลมปราณ รักษาไข้อันเกิดจากการกระทบจากปัจจัยภายนอก เถาสด แก้บิด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด แผลเปื่อย ปวดเมื่อยตามข้อ ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ไข้หวัด
- ดอกตูม แก้ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย
- ทั้งต้น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้แผลฝีต่างๆ เหงือกอักเสบ ปากนกกระจอก แก้เจ็บคอ แก้เมา แก้ท้องร่วง ตับอักเสบ โรคลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร ปวดเมื่อยตามข้อ
คุณค่าทางโภชนาการของสายน้ำผึ้ง
การแปรรูปของสายน้ำผึ้ง
นำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มและขนมหวานต่าง ๆ เช่น ไวน์ น้ำเชื่อม ไอศกรีม แยม หรือเยลลี่ เป็นต้น และยังถูกนำมาใช้เป็นน้ำหอม มีการใช้เป็นหัวน้ำมันในอุตสาหกรรมน้ำหอมหรือใช้ในทางสุคนธบำบัด(Aromatherapy)
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10919&SystemType=BEDO
www.flickr.com