ต้นอินทรชิต
ชื่ออื่นๆ : เกรียบ, ตะเกรียบ (ชอง จันทบุรี) ตะแบกขน (นครราชสีมา) เสลาใบใหญ่ (ประจวบคีรีขันธ์, สระบุรี) อินทรชิต (ปราจีนบุรี)
ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ชื่อสามัญ : เสลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE
ลักษณะของต้นอินทรชิต
ต้น ไม้ต้น ผลัดใบขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่น ทึบสีเขียวเข้ม กิ่งมักย่อยห้อยลงเปลือก สีเทาดำ มีรอยแตกระแหงเป็นทางยาวตลอดลำต้น
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงกันขาม แผ่นใบยาวแบบรูปขอบขนาน กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 16-24 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมเป็นติ่งยาวเล็กน้อย โคนมน ผิวใบมี ขนปุยอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน
ดอก สีม่วงสดเวลาดอกบานช่อดอกจะแน่น เป็นรูปทรงกระบอกก้านช่อดอกและกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่ม สีเหลืองปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมักมี 6,7 หรือ 8 กลีบ ที่ผิวนอกของกลีบรองกลีบดอกรูปถ้วยเมื่อบาน มีขนาดกว้าง 6.8-8.2 เซนติเมตร
ผล เกือบกลมผิวแข็ง ยาวประมาณ 1.5-2.1 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามยาว5-6 พูเมล็ด จำนวนมาก มีปีก
การขยายพันธุ์ของต้นอินทรชิต
การเพาะเมล็ด
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าชายหาด พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออก และ ภาคกลางลงมาถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ธาตุอาหารหลักที่ต้นอินทรชิตต้องการ
ประโยชน์ของต้นอินทรชิต
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- เนื้อไม้ ทาเครื่องเกาะสลัก ด้ามเครื่องมือ ทาพื้น รอด ตง คาน
- ผล ใช้ทำไม้ประดับแห้ง
- ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
- คนไทยมีความเชื่อว่าต้นเสลาเป็นไม้มงคล หากปลูกไว้ประจำบ้านจะช่วยเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลทำให้บ้านนั้นมีฐานะสูงขึ้น
สรรพคุณทางยาของต้นอินทรชิต
ใบ บดกับกายานก้อนเล็กๆ ทาแก้ผดผื่นคัน
คุณค่าทางโภชนาการของต้นอินทรชิต
การแปรรูปของต้นอินทรชิต
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
www.sci.pcru.ac.th
www.flickr.com
One Comment